Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67304
Title: การใช้รากเทียมขนาดเล็กเพื่อช่วยในการยึดติดของฟันเทียมบางส่วนถอดได้ขยายฐานชนิดให้รับแรงทันที : ผลเบื้องต้นของการศึกษาทางคลินิกแบบไปข้างหน้า
Other Titles: The Use of Immediate-Load Mini Dental Implant to Retain Mandibular Distal-extension Removable Partial Denture: A Preliminary Prospective Clinical Study Results
Authors: วรุตม์ ตรีบุรุษ
วีระพันธ์ อุ่นเมืองทอง
ปฐวี คงขุนเทียน
Authors: วรุตม์ ตรีบุรุษ
วีระพันธ์ อุ่นเมืองทอง
ปฐวี คงขุนเทียน
Keywords: รากเทียมขนาดเล็ก;ฟันเทียมบางส่วนถอดได้ ขยายฐาน;การละลายของกระดูกจากภาพรังสี;ความพึง พอใจของผู้ป่วย
Issue Date: 2560
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,2 (พ.ค.-ส.ค. 2560) 75-85
Abstract: บทนำ: การใช้รากเทียมเพื่อช่วยในการรองรับและการยึดติด ในฟันเทียมบางส่วนถอดได้ กำลังได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย และมีแนวโน้มสูงขึ้นเรื่อยๆ เนื่องจากข้อด้อยของฟันเทียมบางส่วนถอดได้ที่มักพบ การหลวม การกดเนื้อเยื่ออ่อนทำให้มีอาการเจ็บ ฟันเทียมเคลื่อนขยับขณะเคี้ยวอาหาร ซึ่งพบมากในฟันเทียมบางส่วนถอดได้ขยายฐานในขากรรไกรล่าง ปัญหาเหล่านี้สามารถแก้ไขได้โดยการใส่รากเทียมบริเวณด้านท้ายของฟันเทียม ในปัจจุบันได้เริ่มมีการนำรากเทียมขนาดเล็กมาใช้ในงานเหล่านี้เช่นเดียวกัน วัตถุประสงค์: การศึกษานี้ทำขึ้นเพื่อประเมินผลการใช้รากเทียมขนาดเล็กเพื่อช่วยในการรองรับและยึดติดฟันเทียมบางส่วนถอดได้ขยายฐาน ด้วยวิธีการให้รับแรงทันทีหลังฝังรากเทียม วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ผู้ป่วย 15 ราย มีฟันเทียมบางส่วนถอดได้ชนิดขยายฐานในขากรรไกรล่าง ผู้ป่วยทั้งหมดได้รับการตรวจในช่องปากและทำแบบสอบถามก่อนทำการรักษา จากนั้นผู้ป่วยได้รับการฝังรากเทียมขนาด 3.0 มิลลิเมตร ยาว 10 มิลลิเมตรบริเวณฟันกรามใหญ่ซี่ที่ 1 ทั้ง 2 ข้างด้วยวิธีการผ่าตัดแบบไม่เปิดแผ่นเหงือกเชื่อมต่อ (pickup) กับตัวยึด Equator® ทันที นัดผู้ป่วยกลับมาตรวจหลังการใส่รากเทียมที่ระยะเวลา 1 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ 8 สัปดาห์ 3 เดือนและ 6 เดือน วัดการละลายตัว ของกระดูกรอบรากเทียมจากภาพรังสี ร่วมกับการประเมินความพึงพอใจของผู้ป่วย ข้อมูลทั้งหมดถูกวิเคราะห์โดยใช้สถิติที่ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ผลการศึกษา: พบว่า รากเทียม 28 ราก (ร้อยละ 93.3)ประสบความสำเร็จ มีรากเทียมจำนวน 2 ราก (ร้อยละ 6.7) ในผู้ป่วย 2 รายที่ล้มเหลว ไม่พบอาการทางคลินิกที่บ่งชี้ถึงการติดเชื้อ ค่าเฉลี่ยการละลายตัวของกระดูกรอบรากเทียมที่ระยะเวลา 6 เดือน เท่ากับ 0.48 ± 0.31 มิลลิเมตรไม่พบปัญหาเกี่ยวกับฟันเทียมของผู้ป่วยหลังใส่รากเทียมพบว่าความพึงพอใจหลังใส่รากเทียมเพิ่มขึ้นในทุกๆด้านได้แก่ ความสบายในการใช้งาน การยึดติดของฟันเทียมประสิทธิภาพในการบดเคี้ยว สรุป: การใช้รากเทียมขนาดเล็กเพื่อช่วยในการยึดติดฟันเทียมบางส่วนถอดได้ขยายฐาน ช่วยเพิ่มความพึงพอใจในการใช้งานฟันเทียมของผู้ป่วยในทุกด้าน และสามารถให้รับแรงทันทีหลังฝังได้ ภายใต้ข้อควรคำนึงถึง และข้อควรระวัง รวมไปถึงการเรียกผู้ป่วยกลับมาตรวจอย่างสม่ำเสมอ
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext____449.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67304
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.