Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67300
Title: ผลของเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยและโลหะเหวี่ยงต่อค่าแรงที่ทำให้เกิดการแตกหักและรูปแบบการแตกของแบบจำลองสองชั้นแก้วเรซินทรงกระบอก: การศึกษานำร่อง
Other Titles: The Effect of Fiber-reinforced Composite and Cast Metal Post on the Failure Load and the Fracture Patterns of a Cylindrical Glass-resin Bilayer Structure: A Pilot Study
Authors: ขนิษฐา เกษตรวงศ์
ธนพล ศรสุวรรณ
พิมพ์เดือน รังสิยากูล
Authors: ขนิษฐา เกษตรวงศ์
ธนพล ศรสุวรรณ
พิมพ์เดือน รังสิยากูล
Keywords: รูปแบบการแตก;เดือยฟันโลหะเหวี่ยง;เดือยฟัน;คอมโพสิตเสริมเส้นใย;โครงสร้างสองชั้นแก้วเรซิน
Issue Date: 2560
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 38,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2560) 89-102
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแบบจำลองอย่างง่ายที่ใช้วิเคราะห์การแตกหักแนวดิ่งจากขอบ โดยเปรียบเทียบค่าแรงที่ทำให้เกิดการแตกหัก และรูปแบบการแตกในแบบจำลองแก้วเรซิน ซึ่งเตรียมจากหลอดแก้วทรงกระบอกที่ผนังภายในมีความผายและมีขอบบาง มีเรซินบรรจุอยู่ภายในหลอดแก้ว แกนกลางหลอดแก้วมีเดือยฟันต่างชนิดกันและไม่มีการยึดติดกับเรซินโดยรอบโดยแบ่งชิ้นงานเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 10 ชิ้น ได้แก่ กลุ่มควบคุม (C) กลุ่มเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใย (FP) และกลุ่มเดือยฟันโลหะเหวี่ยง (MP) ให้แรงกดตามแนวแกนด้วยเครื่องทดสอบสากลความเร็วหัวกด 0.5 มม./นาทีจนถึง 300 นิวตัน และ 0.01 มม./นาที จนแบบจำลองแตกหัก บันทึกภาพวีดิทัศน์ขณะให้แรง วิเคราะห์ทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 0.05 จากการศึกษาพบว่าแบบจำลองแก้วเรซินสองชั้น สามารถจำลองให้เกิดรอยร้าวแนวดิ่งได้ค่าแรงที่ทำให้เกิดการแตกหักของกลุ่มเดือยฟันมีค่าสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ชนิดของเดือยฟันไม่มีผลต่อโอกาสเกิดการแตกหักในช่วงค่าแรงต่ำกว่า 850 นิวตันขณะที่เดือยฟันโลหะเหวี่ยงมีโอกาสทำให้เกิดการแตกหักของแก้วสูงกว่าเดือยฟันคอมโพสิตเสริมเส้นใยภายใต้แรงกดมากกว่า 850 นิวตัน
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2560_38_3_463.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67300
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.