Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67236
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างการรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอดกับผลลัพธ์ด้านการรับรู้ประสบการณ์การคลอดและความพึงพอใจต่อการบริการของผู้คลอด |
Other Titles: | Relationship Between Perceptions of Intrapartum Care Process, Childbirth Experience Perception and Satisfaction with Nursing Care among Parturients |
Authors: | มาณี น้าคณาคุปต์ พรทิพย์ คนึงบุตร ฐิติรัตน์ น้อยเกิด |
Authors: | มาณี น้าคณาคุปต์ พรทิพย์ คนึงบุตร ฐิติรัตน์ น้อยเกิด |
Keywords: | การรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอด;การรับรู้ประสบการณ์การคลอด;ความพึงพอใจต่อการบริการ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 45, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2561), 50-61 |
Abstract: | การดูแลของพยาบาลในห้องคลอดมีความสำคัญมากเพราะมีผลต่อผลลัพธ์การคลอดทั้งด้านร่างกายและจิตใจของผู้คลอด หากการคลอดมีความปลอดภัยและผ่านไปได้ด้วยดีจะทำให้เกิดความพึงพอใจต่อการบริการที่ได้รับ การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาโครงสร้าง กระบวนการ และผลลัพธ์ของการดูแลในระยะคลอด และ ความสัมพันธ์ของการรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอดกับผลลัพธ์ของการดูแล กลุ่มตัวอย่างเลือกแบบเฉพาะเจาะจง เป็นผู้คลอดที่ได้รับการบริการดูแลในระยะคลอดของแผนกห้องคลอดโรงพยาบาลปทุมธานี ระหว่างเดือนธันวาคม 2558 – สิงหาคม 2559 จำนวน 359 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ 1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบประเมินการรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอดที่พัฒนาโดยผู้วิจัย 3) แบบประเมินการรับรู้ประสบการณ์การคลอดที่ผู้วิจัยดัดแปลงมาจากแบบประเมินที่พัฒนาโดย มาณี จันทร์โสภาและคณะ (2555) และ 4) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการบริการแบบขั้นบันได โดยแบบประเมินการรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอด และแบบประเมินการรับรู้ประสบการณ์การคลอดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหา มีค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และผ่านการตรวจสอบค่าความเชื่อมั่นได้ค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค เท่ากับ 0.86 และ 0.81 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติสหสัมพันธ์แบบสเปียร์แมน ผลการวิจัย โครงสร้างด้านพยาบาล พบว่า อายุเฉลี่ย 38.43 ปี ประสบการณ์การทำงานเฉลี่ย 15.14 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 85.7 มีการศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 78.6 ไม่มีโรคประจำตัว ด้านผู้ใช้บริการ พบว่า อายุเฉลี่ย 25.70 ปี ส่วนใหญ่ร้อยละ 64.3 อายุ 20-34 ปี ร้อยละ 61.6 ระดับการศึกษาชั้นมัธยมศึกษา ร้อยละ 50.7 อาชีพรับจ้าง ร้อยละ 67.4 เคยมีประสบการณ์คลอดบุตร และร้อยละ 57.9 ไม่ได้รับความรู้การเตรียมคลอด ด้านกระบวนการดูแล พบว่า ผู้คลอดมีการรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอดโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( =56.56, SD=15.42) ด้านผลลัพธ์การดูแล พบว่า ผู้คลอดมีการรับรู้ประสบการณ์การคลอดโดยเฉลี่ยเป็นทางบวก ( =75.35, SD=10.42) และมีความพึงพอใจต่อการบริการในทางบวกอยู่ในระดับปานกลาง ( =6.86, SD=2.10) การรับรู้กระบวนการดูแลในระยะคลอดมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับการรับรู้ประสบการณ์การคลอด (rs = .44) และความพึงพอใจต่อการบริการ (rs = .58) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ p < .001 จากผลการวิจัย ควรมีการพัฒนากระบวนการดูแลในแต่ละระยะของการคลอดเพื่อส่งเสริมการรับรู้ประสบการณ์การคลอดทางบวกและความพึงพอใจต่อการบริการ โดยเฉพาะการส่งเสริมสายสัมพันธ์มารดาและทารกโดยเร็วหลังคลอด การให้ข้อมูลเกี่ยวกับทารกและแนวทางการดูแล และการจัดการความปวดที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มคุณภาพการพยาบาลในระยะคลอดต่อไป |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/136153/101615 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67236 |
ISSN: | 0125-5118 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.