Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67205
Title: ความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคของสารยึดติดสก็อตช์บอนด์ยูนิเวอร์แซลและรีไลย์เอ็กซ์อัลติเมทเรซินซีเมนต์กับเนื้อฟันส่วนตัวฟัน
Other Titles: Micro-tensile Bond Strength of ScotchbondTM Universal Adhesive and RelyXTM Ultimate Resin Cement to Coronal Dentin
Authors: พิมพรรณ์ สัทธาชัย
ศิริพงศ์ ศิริมงคลวัฒนะ
ภาวิศุทธิ แก่นจันทร์
Authors: พิมพรรณ์ สัทธาชัย
ศิริพงศ์ ศิริมงคลวัฒนะ
ภาวิศุทธิ แก่นจันทร์
Keywords: ความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาค;เรซินซีเมนต์;สารยึดติด;สารยึดติดยูนิเวอร์แซล
Issue Date: 2559
Publisher: คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 37,2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560) 101-111
Abstract: วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาค่าความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคของเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติดระบบเซลฟ์เอตช์ 3 ชนิดคือ พานาเวียเอฟสองจุดศูนย์ เนกซัสธรีและรีไลย์เอ็กซ์อัลทิเมต กับเนื้อฟันส่วนตัวฟัน วัสดุอุปกรณ์และวิธีการ: ใช้ฟันกรามแท้ซี่ที่สามของมนุษย์ที่ไม่มีพยาธิสภาพ ทำการตัดเคลือบฟันด้านบดเคี้ยวออก เตรียมผิวเนื้อฟันให้เรียบและมีลักษณะของชั้นสเมียร์มาตรฐาน ทำการยึดชิ้นเรซินคอมโพสิตลงบนเนื้อฟันตามคำแนะนำของบริษัทผู้ผลิตด้วยเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติดระบบเซลฟ์เอตช์ 3 ชนิด คือ พานาเวียเอฟสองจุดศูนย์ร่วมกับสารยึดติดอีดีไพรเมอร์ทู เนกซัสธรีร่วมกับสารยึดติดออพติบอนด์ออลอินวัน และรีไลย์เอ็กซ์อัลทิเมตร่วมกับสารยึดติดสก็อตช์บอนด์ยูนิเวอร์แซล ฉายแสงชิ้นงานที่ทำการยึดด้วยเรซินซีเมนต์ แช่ชิ้นงานในน้ำกลั่นที่อุณหภูมิ 37 องศาเซลเซียส 24 ชั่วโมง จากนั้นทำการตัดด้วยเครื่องตัดความเร็วต่ำ ได้ชิ้นทดสอบรูปแท่งที่มีพื้นที่หน้าตัด 1 ตารางมิลลิเมตร จำนวน 15 ชิ้นในแต่ละชนิดของเรซินซีเมนต์นำไปทดสอบหาค่าความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคด้วยเครื่องทดสอบสากล ความเร็วหัวทดสอบ 1 มิลลิเมตรต่อนาที ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยการจำแนกความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบเชิงซ้อนชนิดทูกีย์ ทำการศึกษาลักษณะพื้นผิวบริเวณแตกหักด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด ผลการศึกษา: ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคของเรซินซีเมนต์ที่ใช้ร่วมกับสารยึดติดระบบเซลฟ์เอตช์ทั้ง 3 ชนิด มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) โดยกลุ่มที่ทำการยึดด้วยรีไลย์เอ็กซ์อัลทิเมตร่วมกับสารยึดติดสก็อตช์บอนด์ยูนิเวอร์แซลให้ค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคสูงสุด รองลงมาคือกลุ่มที่ทำการยึดด้วยเรซินซีเมนต์พานาเวียเอฟสองจุดศูนย์ร่วมกับสารยึดติดอีดีไพรเมอร์ทูและกลุ่มที่ทำการยึดด้วยเรซินซีเมนต์เนกซัสธรีร่วมกับสารยึดติดออพติบอนด์ออลอินวันตามลำดับ บทสรุป: เรซินซีเมนต์รีไลย์เอ็กซ์อัลทิเมตที่ใช้ร่วมกับสารยึดติดสก็อตช์บอนด์ยูนิเวอร์แซลแอดฮีซีฟมีค่าเฉลี่ยความแข็งแรงยึดดึงระดับจุลภาคกับเนื้อฟันส่วนตัวฟันสูงกว่าเรซินซีเมนต์พานาเวียเอฟสองจุดศูนย์ร่วมกับสารยึดติดอีดีไพรเมอร์ทูและเรซินซีเมนต์เนกซัสธรีร่วมกับสารยึดติดออพติบอนด์ออลอินวัน
Description: เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม
URI: http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2559_37_2_418.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67205
ISSN: 0857-6920
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.