Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67146
Title: ผลของการอบรมความปลอดภัยเชิงปฏิสัมพันธ์ ต่อพฤติกรรมการทำงานของคนงานผลิตเกมส์ไม้
Other Titles: Effect of Interactive Safety Training on Work Behaviors among Wooden Game Workers
Authors: กันย์นิรินท์ ศรีบุญเรือง
ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์
ธานี แก้วธรรมานุกูล
Authors: กันย์นิรินท์ ศรีบุญเรือง
ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์
ธานี แก้วธรรมานุกูล
Keywords: การอบรม;การอบรมความปลอดภัยเชิงปฏิสัมพันธ์;พฤติกรรมการทำงาน;คนงาน;เกมส์ไม้
Issue Date: 2559
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 44, 4 (ต.ค.-ก.ย. 2559), 137-146
Abstract: พฤติกรรมการทำงานที่ไม่ปลอดภัยเป็นสาเหตุสำคัญต่อการบาดเจ็บจากการทำงาน การอบรมความปลอดภัยเชิงปฏิสัมพันธ์เป็นกระบวนการเรียนรู้เสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการอบรมความปลอดภัยเชิงปฏิสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการทำงานของคนงานผลิตเกมส์ไม้จำนวน 56 ราย คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม (กลุ่มละ 28 ราย) มีความคล้ายกันในส่วนของ เพศ ประสบการณ์การทำงาน และขั้นตอนการทำงาน เครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการอบรมความปลอดภัยเชิงปฏิสัมพันธ์ที่พัฒนาโดยผู้วิจัย และ 2) แบบสัมภาษณ์พฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของคนงานผลิตเกมส์ไม้โดยกลุ่มทดลองได้รับการอบรมความปลอดภัยเชิงปฏิสัมพันธ์ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการดูแลตามปกติจากเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และสถิติทดสอบทีชนิด 2 กลุ่ม ที่อิสระต่อกัน และสถิติทดสอบค่าทีชนิด 2 กลุ่มที่สัมพันธ์กัน ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังการอบรมความปลอดภัยเชิงปฏิสัมพันธ์คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของกลุ่ม ทดลอง ( x= 144.79 S.D. = 7.62) สูงกว่ากลุ่มควบคุม ( x= 101.64 S.D. = 5.59) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( p < .001) และคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการทำงานที่ปลอดภัยของกลุ่มทดลองหลังการอบรมความปลอดภัยเชิงปฏิสัมพันธ์ ( x= 144.79 S.D. = 7.62) สูงกว่าก่อนการอบรม ( x= 101.14 S.D. = 4.39) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเช่นกัน (p < .001) ผลการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นว่า การอบรมความปลอดภัย เชิงปฏิสัมพันธ์ เป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำมาใช้ในการส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ที่ปลอดภัย ดังนั้นพยาบาลอาชีวอนามัยและทีมสุขภาพที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาประยุกต์การอบรมดังกล่าวในการส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของคนงานผลิตเกมส์ไม้ Unsafe behavior is a major cause of work-related injury. Interactive safety training is a learning process that can facilitate work practice modification. The purpose of this quasi-experimental research thus was to examine the effect of interactive safety training on work behaviors of wooden game workers, 56 workers, chosen purposively. An experimental group and a control group, (28 each) were similar in terms of gender, work experience, and working process. The research instruments consisted of: 1) an interactive safety training plan,developed by the researcher, and 2) a safe work behaviors of wooden game workers.The experimental group received interactive safety training while the control group received usual care from staff of health promoting hospital. Data were analyzed using descriptive statistics, independent t-test and paired t-test.The results of studyThe major results showed that after receiving interactive safety training the mean score of safe work behaviors of the experimental group ( x_ = 144.79 S.D. = 7.62) was significantly higher than that of the control group ( x_ = 101.64 S.D. = 5.59) (p<.001). Also the mean score of safe work behaviors of the experimental group after receiving interactive safety training ( x_ = 144.79 S.D. = 7.62) was significantly higher than that before the training ( x_ = 101.14 S.D. = 4.39) (p<.001). The interactive safety training is thus applicable in modifying of safety work practice. Therefore, occupational and environmental health nurses and related health team should apply such training to facilitate safety work practice, thereby enhancing quality of working life of wooden game workers.
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/75236/60639
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67146
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.