Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67142
Title: การพัฒนาระบบการให้คะแนนปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มสำหรับผู้ป่วยใน
Other Titles: Development of Risk Factor Scoring System of Multidrug-resistant Microorganism Infection Among In-Patients
Authors: นฤมล จุ้ยเล็ก
วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร
นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล
Authors: นฤมล จุ้ยเล็ก
วิลาวัณย์ พิเชียรเสถียร
นงเยาว์ เกษตร์ภิบาล
Keywords: ปัจจัยเสี่ยง;ระบบการให้คะแนน;การติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่ม;ผู้ป่วยในการพัฒนา
Issue Date: 2559
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 44, 4 (ต.ค.-ก.ย. 2559), 68-80
Abstract: การติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มในโรงพยาบาลมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น การคัดกรองผู้ป่วยจะช่วยให้สามารถดำเนินการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาในโรงพยาบาล การวิจัยเชิงพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของระบบการให้คะแนนปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มสำหรับผู้ป่วยใน การวิจัยดำเนินการ 2 ระยะ คือ ระยะการพัฒนาและระยะทดสอบประสิทธิภาพของระบบการให้คะแนนปัจจัยเสี่ยง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยระยะการพัฒนา คือ เวชระเบียนของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2551 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 แบ่งเป็นเวชระเบียนของ ผู้ป่วยที่ติดเชื้อดื้อยา (n=151) และไม่ติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่ม (n=302) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยระยะทดสอบ คือ เวชระเบียนของผู้ป่วยในที่เข้ารับการรักษา ระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2554 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. 2556 แบ่งเป็นเวชระเบียนของผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง (n=171) และไม่เสี่ยงต่อการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่ม (n= 342) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มในโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา สถิติแมนวิทนีย์ยู สถิติถดถอย โลจิสติก และหาค่าความไว ความจำเพาะ การทำนายเชิงบวก และการทำนายเชิงลบ ผลการวิจัยพบว่า ระบบการให้คะแนนปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มสำหรับผู้ป่วยใน กำหนดขึ้นในรูปแบบของการให้คะแนนในแต่ละปัจจัยเสี่ยง ดังนี้การมีประวัติเคยติดเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพในโรงพยาบาล (15 คะแนน) การได้รับการสอดใส่ท่อหรือสายสวนเข้าสู่ร่างกาย (10 คะแนน) การมีแผลเรื้อรังหรือแผลติดเชื้อ (4 คะแนน) การมีประวัติการรักษาที่ทำให้ภูมิต้านทานร่างกายต่ำภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา (3 คะแนน) การได้รับการรักษาด้วยยาลดกรดในกระเพาะอาหาร (2 คะแนน) การมีประวัติเคยรักษาด้วยยาต้านจุลชีพภายใน 3 เดือนที่ผ่านมา (2 คะแนน) เพศชาย (2 คะแนน) การเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยวิกฤต (2 คะแนน) และอายุมากกว่าหรือเท่ากับ 60 ปี (2 คะแนน) คะแนนรวมเท่ากับ 42 คะแนน ระบบการให้คะแนนปัจจัยเสี่ยงนี้มีความถูกต้องในการทำนายการติดเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มในโรงพยาบาลได้ร้อยละ 96.4 เมื่อกำหนดจุดตัดที่ 15 คะแนน มีค่าความไว ความจำเพาะ การทำนายเชิงบวก และการทำนายเชิงลบ คิดเป็นร้อยละ 82.2 95.7 91.8 และ 90.1 ตามลำดับ การวิจัยนี้มีข้อเสนอแนะว่า โรงพยาบาลอาจพิจารณานำเอาระบบการให้คะแนนปัจจัยเสี่ยงที่พัฒนาขึ้นจากการวิจัยนี้ ไปใช้ในการคัดกรองผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล เพื่อให้สามารถแยกผู้ป่วยและป้องกันการแพร่กระจายเชื้อดื้อยาหลายกลุ่มในโรงพยาบาลได้เร็วขึ้น Hospital associated infection with multidrug-resistant microorganisms is increasing.Screening may help to prevent multidrug-resistant microorganism transmission in hospitals. This developmental research aimed to develop and evaluate the efficacy of a risk factor scoring system of multidrug-resistant microorganism infection among in-patients. The researchwas done in two steps including derivation study and validation study. The samples in the derivation study were medical records of patients admitted at H. M. Queen Sirikit Hospital during January 2008 to December 2010, with (n=151) and without (n=302) multidrug-resistant microorganism infection. The samples in the validation study were medical records of in-patients during January 2011 to December 2013, at risk (n=171) or without risk (n=342) of multidrug-resistant microorganism infection. The research instrument was the Data Recording Form for Multidrug-resistant Microorganism Infection in Hospitals. Data were analyzed using descriptive statistics, Mann Whitney U test, logistic regression statistics, sensitivity, specificity, positive predictive value, and negative predictive value.The results revealed that the risk factor scoring system of multidrug-resistant microorganisminfection among in-patients, established in the form of weighed score assigned to each risk factors, was as follows: previous multidrug-resistant microorganism infection (15 points); intubationor catheterization (10 points); chronic wound or skin infection (4 points); immunosuppressivetherapy past 3 months (3 points); having antacid (2 points); antibiotic past 3 months (2 points);being male (2 points); admitted to intensive care units (2 points); and age ≥ 60 years (2 points).The total score was 42 points. The predictive accuracy of this risk factor scoring system was 96.4%. When the cut off was raised to 15, the sensitivity, specificity, positive predictive value,and negative predictive value were 82.2%, 95.7%, 91.8%, and 90.1%, respectively.This study suggests that hospitals could consider the risk factor scoring system developedin this study for screening multidrug-resistant microorganism infection in hospital settings in order to early isolate patients and prevent the transmission of multidrug-resistantmicroorganisms.
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/75138/60567
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67142
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.