Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67141
Title: ทัศนคติ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรมและ ความตั้งใจในการออกกำลังกายของสตรีตั้งครรภ์
Other Titles: Attitudes, Subjective Norm, Perceived Behavioral Control andIntention to Exercise Among Pregnant Women
Authors: สมญาภรณ์ พุทธรักษา
บังอร ศุภวิทิตพัฒนา
กรรณิการ์ กันธะรักษา
Authors: สมญาภรณ์ พุทธรักษา
บังอร ศุภวิทิตพัฒนา
กรรณิการ์ กันธะรักษา
Keywords: ทัศนคติ;บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง;การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม;ความตั้งใจ;สตรีตั้งครรภ์
Issue Date: 2559
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 44, 4 (ต.ค.-ก.ย. 2559), 24-34
Abstract: การออกกำลังกายเป็นพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพที่มีความสำคัญในสตรีตั้งครรภ์ ก่อให้เกิดผลดีทั้งต่อสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์ แต่สตรีมีการออกกำลังกายในระยะตั้งครรภ์มีจำนวนน้อย การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพัน์ระหว่างทัศนคติ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิงการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมและความตั้งใจในการออกกำลังกายของสตรีตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างคือ สตรีตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 14-18 สัปดาห์ มาฝากครรภ์ที่แผนกฝากครรภ์ โรงพยาบาลพิจิตระหว่างเดือน มีนาคม ถึงเดือน เมษายน พ.ศ. 2558 จำนวน 102 คน คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่กำหนด เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามที่ประเมินใน 4 ด้าน ได้แก่ ทัศนคติ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง การรับรู้การควบคุมพฤติกรรม และความตั้งใจในการออกกำลังกายของสตรีมีครรภ์ที่ สมญาภรณ์ พุทธรักษา บังอร ศุภวิทิตพัฒนา และกรรณิการ์ กันธะรักษา ดัดแปลงมาจากแบบสอบถามของดาวศ์และฮอสเซนบลาส (Downs & Hausenblas,2003) ที่สร้างขึ้นจากทฤษฏีพฤติกรรมที่มีการวางแผน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสหสัมพันธ์เพียร์สันและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัยพบว่า ทัศนคติ บรรทัดฐานกลุ่มอ้างอิง และการรับรู้การควบคุมพฤติกรรมมีความสัมพันธ์ ทางบวกระดับปานกลางกับความตั้งใจในการออกกำลังกายในระยะตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.325, r=.477, r=.474, p<.01) ตามลำดับ ผลการวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่า ควรมีการประเมินความตั้งใจของสตรีตั้งครรภ์ในการออกกำลังกาย ในระยะตั้งครรภ์ รวมทั้งปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจเพื่อส่งเสริมให้สตรีตั้งครรภ์สามารถออกกำลังกายในระยะ ตั้งครรภ์ได้อย่างเหมาะสม Exercise is an important health promoting behavior for pregnant women in order to benefit both themselves and their fetuses, but there are few women exercising duringpregnancy. The purpose of this descriptive correlation research study was to explore attitudes,subjective norm, perceived behavioral control and the intention of pregnant women to exercise. The subjects were selected following the inclusion criteria and consisted of 102 pregnant women with gestational ages between 14 and 18 weeks at the antenatal care unit, Phichit Hospital from March to April 2015. The assessment tool measured 4 aspects: attitude,subjective norm, perceived behavioral control and intention of pregnant women to exercise. These measures were modified from Downs & Hausenblas (2003) based on the theory of planned behavior by Somyaporn Puttaraksa, Bungorn Supavititpatana, and Kannika Kantaruksa.Descriptive statistics, Pearson’s product moment correlation statistics and Spearman’s productmoment correlation coefficients were used to analyze the data.Results of the study revealed that:Pregnant women’s attitude, subjective norm and perceived behavioral control hada moderate positive correlation with intention to exercise during pregnancy (r=.325,r =.477, r = .474, p<.01 respectively).These findings suggest that pregnant women’s intention to exercise during pregnancy and the relative factors should be assessed to enhance pregnant women appropriately participating in exercise.
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/75125/60559
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67141
ISSN: 0125-5118
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.