Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67114
Title: | ความหลากหลายของชาพื้นเมืองบนที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย |
Other Titles: | Diversity of Local Tea on Highland of Northern Thailand |
Authors: | ชวลิต กอสัมพันธ์ วราพงษ์ บุญมา กนกวรรณ ศรีงาม |
Authors: | ชวลิต กอสัมพันธ์ วราพงษ์ บุญมา กนกวรรณ ศรีงาม |
Keywords: | ชา;ชาพื้นเมือง;ความหลากหลาย |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารเกษตร 26,4 (พ.ย. 2553), 93-99 |
Abstract: | การศึกษาความหลากหลายของชาพื้นเมืองบนที่สูงในภาคเหนือของประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแหล่งที่พบชาป่าตามธรรมชาติและพื้นที่ปลูกชา บันทึกข้อมูล ณ จุดเก็บ ซึ่งได้แก่ พิกัดทางภูมิศาสตร์ หมู่บ้าน สภาพแวดล้อม พืชพรรณธรรมชาติ ลักษณะทั่วไปของต้นชา ได้แก่ทรงพุ่ม นิสัยการเจริญเติบโต ลักษณะทางสัณฐานวิทยาเบื้องต้น เก็บตัวอย่างเพื่อจัดทำลักษณะทางพฤกษศาสตร์เพิ่มเติมในห้องปฏิบัติการ เก็บเมล็ด กล้า หรือกิ่งเพื่อปักชำขยายพันธุ์และทำแปลงรวบรวมพันธุ์ชา ที่สถานีวิจัยเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เอกสารนี้นำเสนอผลบางส่วนที่ได้ทำการศึกษาระหว่างเดือนตุลาคม พ.ศ. 2551 ถึงกันยายน พ.ศ. 2553 สำหรับพื้นที่เก็บข้อมูลอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน น่าน และตาก ผลงานนี้เป็นข้อมูลส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยที่กำลังดำเนินการวิจัยอย่างต่อเนื่อง ผลการศึกษาพบชาพื้นเมืองทั้งที่ขึ้นเองตามธรรมชาติและปลูกกระจายในหลายพื้นที่ แนวเหนือ-ใต้พบตั้งแต่พิกัดที่ N20.04861, E99.16143 อ.แม่ฟ้าหลวง จ.เชียงราย ถึง N16.53655, E98.95147 อ.พบพระ จ.ตาก แนวตะวันออก-ตะวันตกพบชาตั้งแต่พิกัดที่ N19.2551, E100.6455 อ.ท่าวังผา จ.น่าน ถึงพิกัดที่ N19.55603, E 97.94662 อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน ความสูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 450 เมตร ถึง 2,285 เมตร สภาพพื้นที่ที่พบชามีทั้งป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ป่าเหล่า สวนแบบปลูกและมีการจัดการและสวนที่ปล่อยให้รกร้าง พบทั้งที่มีและไม่มีการเก็บเกี่ยว ชาและพืชคล้ายชาที่พบแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือชาเมี่ยงหรือชาอัสสัม (Camellia sinensis var. assamica) ชาป่า (C. taliensis) และพืชคล้ายชาอื่น ๆ ชาเมี่ยงและชาป่าเป็นพืชที่กลุ่มชาติพันธุ์ท้องถิ่นนำมาบริโภคแบบชาหรือจำหน่าย ส่วนพืชคล้ายชาไม่ได้ใช้บริโภค แต่เกษตรกรรู้จักเป็นอย่างดี เช่นเมี่ยงอาม (C. oleifera) C. connata และมีพืชคล้ายชาที่ไม่ได้จำแนกอีกจำนวนหนึ่ง เอกสารนี้นำเสนอลักษณะทางสัณฐานวิทยาเบื้องต้นโดยรวมของแต่ละชนิดหรือตัวอย่างที่บันทึกได้ สำหรับแปลงรวบรวมพันธุ์ชาที่สถานีวิจัยเกษตรที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีตัวอย่างชามากกว่า 100 ตัวอย่าง จากพื้นที่ต่าง ๆ และลักษณะที่มีความแตกต่างกัน ซึ่งแปลงรวมพันธุ์นี้จะใช้สำหรับการวิจัยเชิงลึกด้านอื่น ๆ ในอนาคตต่อไป |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) กลุ่มที่ 1 |
URI: | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00112_C00807.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/67114 |
ISSN: | 0857-0841 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.