Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66999
Title: | การศึกษาเปรียบเทียบความหนาของกระดูกทึบด้านแก้ม ในผู้ป่วยไทยที่มีการเจริญเติบโต และมีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ด้านเดียว โดยใช้โคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี |
Other Titles: | Comparison of the Buccal Cortical Bone Thickness in Growing Thai Patients with Unilateral Cleft Lip and Palate Using Cone-Beam Computed Tomography |
Authors: | ชนชล ไตรรัตนประดิษฐ์ เสาวภาคย์ ธงวิจิตรมณี มารศรี ชัยวรวิทย์กุล |
Authors: | ชนชล ไตรรัตนประดิษฐ์ เสาวภาคย์ ธงวิจิตรมณี มารศรี ชัยวรวิทย์กุล |
Keywords: | ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่;ความหนาของกระดูก;โคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร 40,3 (ก.ย.-ธ.ค. 2562) 81-89 |
Abstract: | วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความหนาของกระดูกทึบด้านแก้มบริเวณสันกระดูกโหนกแก้มส่วนใต้ ในผู้ป่วยไทยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ด้านเดียวซึ่งยังมีการเจริญเติบโต ระหว่างด้านที่มีรอยแยกและด้านที่ไม่มีรอยแยก โดยใช้โคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟี วัสดุและวิธีการ: ภาพรังสีโคนบีมคอมพิวเตดโทโมกราฟฟีบริเวณสันกระดูกโหนกแก้มจ านวน 40 ภาพ จากผู้ป่วยไทยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ด้านเดียวก่อนเริ่มรักษาทางทันตกรรมจัดฟันจ านวน 20 ราย ถูกน ามาวัดโดยใช้โปรแกรมเดนตีแพลน โปรเฟสชันนอลเวอร์ชัน 3.0 เส้นตัด 5 เส้นซึ่งมีระยะห่างระหว่างเส้น 1.2 มิลลิเมตร โดยเริ่มจากระดับ 6.0 มิลลิเมตร ถึง 10.8 มิลลิเมตร จากรอยต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟันของฟันกรามแท้บนซี่ที่ 1 ไปทางรากฟัน ถูกสร้างขึ้นเพื่อท าการวัด การทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ ถูกน ามาใช้เพื่อประเมินความแตกต่างของความหนาของกระดูกทึบด้านแก้มระหว่างด้านที่มีรอยแยกและด้านที่ไม่มีรอยแยก ผลการศึกษา: กระดูกทึบด้านแก้มมีความหนาตั้งแต่ 1.08+0.30 ถึง 2.16+1.17 มิลลิเมตร จากรอยต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟันไปยังปลายรากฟันในด้านที่ไม่มีรอยแยก และ 1.19+0.37 ถึง 3.36+2.80 มิลลิเมตรในด้านที่มีรอยแยก โดยต าแหน่งที่มีความหนามากที่สุดพบที่บริเวณรากด้านแก้มไกลกลางของฟันกรามแท้บนซี่ที่ 1 โดยมีความหนาเพิ่มขึ้นจากรอยต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟันไปยังปลายรากฟัน และพบความแตกต่างอย่างมีนัยส าคัญของค่าที่วัดได้ระหว่างด้านที่ไม่มีรอยแยกและด้านที่มีรอยแยกที่ระดับนัยส าคัญทางสถิติน้อยกว่า 0.05 บทสรุป: ความหนาของกระดูกทึบด้านแก้มในทุกต าแหน่งที่วัดมีค่ามากกว่า 1.0 มิลลิเมตร ทั้งด้านที่ไม่มีรอยแยกและด้านที่มีรอยแยก โดยมีความหนาเพิ่มขึ้นจากรอยต่อเคลือบฟันกับเคลือบรากฟันไปยังปลายรากฟัน นอกจากนี้ค่าที่วัดได้ส่วนใหญ่ของด้านที่มีรอยแยกมีค่ามากกว่าด้านที่ไม่มีรอยแยกอย่างมีนัยส าคัญทางสถิติ |
Description: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม |
URI: | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2562_40_3_528.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66999 |
ISSN: | 0857-6920 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.