Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66986
Title: | การประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์ โรงเรียนเลยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 19 |
Other Titles: | A Need Assessment to Developmentthe indicators Teachingand learning of Arts DramaticLoeipittayakom School:EducationalService Area Office 19 |
Authors: | วริศนันท์ อุปไมยอธิชัย |
Authors: | วริศนันท์ อุปไมยอธิชัย |
Keywords: | การประเมินความต้องการจำเป็น;สาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์;โรงเรียนเลยพิทยาคม |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | ศึกษาศาสตร์สาร 3, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2562), 48-55 |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์ โรงเรียนเลยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 2) เพื่อประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์ โรงเรียนเลยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความคิดเห็น กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ เด็กนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 165 คน วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และประเมินความต้องการจำเป็นด้วยค่า (PNI Modified) ผลการวิจัยพบว่า ผลการศึกษาการพัฒนาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์ โรงเรียนเลยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 ในสภาพที่เป็นจริง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (=3.64) และผลการการพัฒนาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์ โรงเรียนเลยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 19 ในสภาพที่คาดหวัง ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (=4.72) 2. ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ วิชานาฏศิลป์ โรงเรียนเลยพิทยาคม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาเขต 19 พบว่ามีความต้องการจำเป็นทุกด้าน โดยมีค่าPNIModified อยู่ระหว่าง 2467 ถึง 0.3475 ผลการจัดลำดับความต้องรายข้อที่พบว่ามีค่า PNIModifiedสูงที่สุด ตามลำดับความสำคัญ คือ 1) การใช้ทักษะการทำงานเป็นกลุ่มในกระบวนการผลิตการแสดง 2) การใช้เกณฑ์ง่ายๆ ที่กำหนดให้ในการพิจารณาคุณภาพการแสดงที่ชมโดยเน้นเรื่องการใช้เสียงการแสดงท่าและการเคลื่อนไหว และ 3) การอธิบายอิทธิพลของนักแสดงชื่อดังที่มีผลต่อการโน้มน้าวอารมณ์หรือความคิดของผู้ชม |
Description: | ศึกษาศาสตร์สาร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CMU Journal of Education) เป็นวารสารวิชาการระดับชาติ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดพิมพ์เพื่อเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่ผลงานวิจัย นวัตกรรม และองค์ความรู้ใหม่อันเป็นความก้าวหน้าทางวิชาการด้านศึกษาศาสตร์/ครุศาสตร์ในยุคสมัยแห่งการปฏิรูปการเรียนรู้ของนักวิชาการ อาจารย์ และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmujedu/article/view/173271/148562 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66986 |
ISSN: | 0859-8479 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.