Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66900
Title: | กลไกเยียวยาที่ขับเคลื่อนด้วยความสิ้นหวังเพื่อให้เกิดความรับผิดข้ามพรมแดน |
Other Titles: | Remedy Mechanism from Hopelessness for Transboundary Responsibility |
Authors: | กรกนก วัฒนภูมิ |
Authors: | กรกนก วัฒนภูมิ |
Keywords: | ธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน;ความรับผิดนอกอาณาเขตรัฐ;หลักการแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน;แผนปฏิบัติระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน;ความรับผิดข้ามแดน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | นิติสังคมศาสตร์ 12, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2562), 22-53 |
Abstract: | การข้ามพรมแดนของโครงการพัฒนาต่างๆ จากรัฐเจ้าของทุนไปยังดินแดนของรัฐอื่น ณ ดินแดนปลายทางอาจไม่ได้รองรับเพียงการเคลื่อนย้ายของทุน สินค้า บริการ และแรงงาน แต่รวมถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนด้วย ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นคือประชาชนผู้ได้รับผลกระทบแทบจะสิ้นหวังกับกลไกภายในประเทศตน ความหวังหนึ่งของการเยียวยาคือ ความพยายามที่จะมาใช้กลไกของประเทศต้นทาง ภายใต้แนวคิดด้านสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศ อนุสัญญาระหว่างประเทศมุ่งสร้างพันธกรณีต่อรัฐภาคีต่อการเคารพ คุ้มครอง รวมถึงการประกันว่าสิทธิดังกล่าวจะเป็นจริงได้ แต่พบว่ารัฐภาคีจำนวนไม่น้อยไม่สามารถดำเนินการตามพันธกรณีได้จริง ผลกระทบที่เกิดนอกอาณาเขตรัฐ ถูกทำให้เป็นเรื่องไกลตัวและถูกกล่าวอ้างเพื่องดเว้นการปฏิบัติตามพันธกรณี แต่การเกิดขึ้นของแนวคิดเรื่องความรับผิดชอบนอกอาณาเขต และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง “หลักการแห่งสหประชาชาติด้านธุรกิจและสิทธิมนุษยชน” ถือเป็นเอกสารระหว่างประเทศฉบับแรกที่กำหนดความสัมพันธ์ หน้าที่ ความรับผิดชอบของรัฐและเอกชนในการคุ้มครองและเคารพสิทธิมนุษยชน นอกจากนี้สหประชาชาติสนับสนุนให้แต่ละประเทศจัดทำ“แผนปฏิบัติระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน”เพื่อนำหลักการฯไปสู่การปฏิบัติให้เหมาะสมกับบริบทของแต่ละประเทศ แม้จะมิใช่ตราสารที่มีผลผูกพันทางกฎหมายและถูกนำมาใช้โดยระบบ“สมัครใจ” กลับปรากฎว่ามี 19 ประเทศได้ดำเนินการจัดทำ“แผนปฏิบัติระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน” และประเทศไทย กำลังดำเนินการร่างแผนฯอยู่ บทความนี้มุ่งทบทวนถึงท่าทีของรัฐไทยต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนของทุนไทยนอกอาณาเขตรัฐไทย ในช่วงเวลาก่อนและหลังการตื่นตัวต่อหลักการ ETOs และหลักการธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน |
Description: | CMU Journal of Law and Social Sciences รับพิจารณาบทความวิชาการ และบทปริทัศน์ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ โดยขอบเขตเนื้อหาทางวิชาการของCMU Journal of Law and Social Sciences จะครอบคลุมเนื้่อหา เกี่ยวกับกฎหมายทุกสาขา เช่น กฎหมายมหาชน กฎหมายเอกชน กฎหมายอาญา กฎหมายระหว่างประเทศ เป็นต้น ซึ่งสัมพันธ์กับความรู้ทางด้านสังคมศาสตร์ในสาขาต่างๆ |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMUJLSS/article/view/135566/140352 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66900 |
ISSN: | 2672-9245 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.