Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66785
Title: พารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการสลายยาฆ่าแมลงด้วยเทคนิคน้ำที่กระตุ้นด้วยพลาสมา
Other Titles: Appropriate Parameters for Breakdown of Pesticide by Plasma Activated Water Technique
Authors: สุชาดา พันธุ์สถิตย์วงศ์"
คมกฤต เล็กสกุล
Authors: สุชาดา พันธุ์สถิตย์วงศ์"
คมกฤต เล็กสกุล
Keywords: อนุมูลของไฮดรอกซิล;พลาสมา;ยาฆ่าแมลง;การออกแบบการทดลอง
Issue Date: 2562
Publisher: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 26, 2 (พ.ค.-ส.ค. 2562), 147-156
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพารามิเตอร์ที่เหมาะสมในการสลายยาฆ่าแมลงด้วยเทคนิคน้า ที่กระตุ้น ด้วยพลาสมา โดยเป็นการใช้พลาสมาอุณหภูมิต่ำชนิดพลาสมาไกลดิงอาร์ค (Gliding Arc Plasma) ร่วมกับการผลิต สารละลายนาโนหรือไมโครบับเบิล (nano/micro bubble) ที่ช่วยสังเคราะห์อนุมูลของไฮดรอกซิล (OH•) ในรูปของ ไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ให้มีปริมาณความเข้มข้นสูงขึ้น โดยอนุมูลของไฮดรอกซิลเป็นหัวใจสำคัญใน กระบวนการสลาย ยาฆ่าแมลงผู้วิจัยเลือกศึกษายาฆ่าแมลงในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต ซึ่งเป็นชนิดที่พบมากที่สุดในผักและผลไม้คือคลอร์ไพริฟอส (Chlorpyrifos)และมีปัจจัยในการทดลองทั้งหมด 3 ปัจจัย ดังนี้ 1)อัตราการไหลของแก๊สอาร์กอนมีช่วงของปัจจัย คือ 8-12 ลิตรต่อนาที 2)กำลังไฟฟ้ามีช่วงของปัจจัย คือ 80-600 วัตต์และ 3) เวลาในการดิสชาร์จมีช่วงของปัจจัย คือ 20-30 นาทีโดยนำเทคนิควิธีการออกแบบการทดลองเชิงแฟคเทอเรียลแบบเต็มจำนวน (23 ) ที่จุดกึ่งกลาง 3 จุด เพื่อนำไปทดสอบความเป็นเส้นโค้งของแบบจำลอง ในการวิเคราะห์จะใช้เครื่องแก๊สโครมาโทกราฟีด้วยดีเทคเตอร์ชนิด Flame Photometric Detector (FPD) ซึ่งผลการศึกษาพบว่าสารละลายยาฆ่าแมลงในน้ำมีปริมาณสารละลายคลอร์ไพริฟอสที่ ลดลงจาก 10 มิลลิกรัมต่อลิตร เหลือเพียง 0.25 มิลลิกรัมต่อลิตร ซึ่งมีประสิทธิภาพในการสลายได้ถึง 97.5 เปอร์เซ็นต์ สุดท้ายผลสรุปการทดลองสภาวะที่เหมาะสมที่สุดในการสลายสารละลายคลอร์ไพริฟอส คือ อัตราการไหลของแก๊ส อาร์กอน 12 ลิตรต่อนาทีกำลังไฟฟ้า 600 วัตต์และเวลาในการดิสชาร์จ 30 นาที
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น ได้รับการยอมรับอยู่ในฐานข้อมูล Thailand Citation Index (TCI) กลุ่มที่ 1 สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
URI: http://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/26_2/13.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66785
ISSN: 2672-9695
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.