Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66496
Title: | การออกแบบระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อในการผลิตเครื่องสำอาง |
Other Titles: | Design of a Planning and Control System for Packing Process in Cosmetic Manufacturing |
Authors: | ลักษมล ชัยวัฒนเมธิน ปวีณา เชาวลิตวงศ์ |
Authors: | ลักษมล ชัยวัฒนเมธิน ปวีณา เชาวลิตวงศ์ |
Keywords: | เครื่องสำอาง;กระบวนการบรรจุหีบห่อ;การวางแผนการผลิต;ระบบการวางแผนและควบคุมการผลิต |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ 24, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2560), 82-99 |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงคเ์พื่อนำเสนอการออกแบบระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อในการผลิต เครื่องสำอาง ในการผลิตเครื่องสำอางนั้นแบ่งได้ออกเป็นสองช่วงคือช่วงของการผลิตเนื้อของเครื่องสำอางและช่วงของการ บรรจุหีบห่อเนื่องจากโรงงานกรณีศึกษาเป็นผู้รับจ้างผลิตและอีกทั้งเครื่องสำอางเป็นสินค้าแฟชั่นที่ผู้บริโภคต้องการความ หลากหลายและตอบสนองต่อความต้องการอย่างรวดเร็ว ดังนั้นผู้จ้างผลิตต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบของหีบห่ออยู่บ่อยเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้บริโภคจากพฤติกรรมและข้อจำกัดของผู้จ้างผลิตดังกล่าว จึงส่งผลให้กระบวนการหีบห่อของ โรงงานกรณีศึกษาก็ต้องปรับเปลี่ยนตามรูปแบบหีบห่อที่ผู้จ้างต้องการภายใต้กรอบเวลาที่จำกัดดังนั้น โรงงานกรณีศึกษาจำเป็นต้องมีระบบการวางแผนและควบคุมการบรรจุหีบห่อที่มีประสิทธิภาพและสามารถสนองตอบความต้องการที่หลากหลายและข้อจำกัดทางด้านเวลาจากผู้จ้างผลิตได้ ขอบเขตของการงานวิจยัครอบคลุมทั้งในส่วนของการวิเคราะห์ออกแบบการทำงานของสายการบรรจุหีบห่อ และส่วนของการออกแบบระบบสารสนเทศที่สนับสนุนการทำงาน โดยระบบสารสนเทศจะครอบคลุมตั้งแต่การรับความ ต้องการสินคา้จากลูกค้าแปลงเป็นรายละเอียดและขั้นตอนการทำงานของส่วนงานบรรจุหีบห่อวางแผน และมอบหมายงาน ในแต่ละสายการผลิตและกลุ่มคนงาน ตลอดจนคอยตรวจติดตามและควบคุมการทำงานจนกระทั่งดำเนินการผลิตเสร็จเป็นสินค้าสำเร็จรูป โดยแบ่งงานส่วนสารสนเทศออกเป็น 3 ส่วนหลัก คือ 1) ส่วนวางแผนการบรรจุหีบห่อ 2) ส่วนการติดตาม และควบคุมกระบวนการบรรจุหีบห่อ 3) ส่วนออกแบบเอกสารและวิธีการทำงานและออกแบบหน้าจอในการใช้งาน จากผลการทดสอบการนำระบบไปใช้งานพบว่า ไม่ตอ้งเปิดการทำงานล่วงเวลาการแก้ไขงาน (repack) มี ปริมาณลดลงได้มากกวา่ 70% และฝ่ายขนส่งไม่มีการร้องเรียน หรือการรอคอยสินคา้สำเร็จรูป ซึ่งสรุปได้ว่า ระบบที่ทำการออกแบบสามารถนำไปใช้ดำเนินการได้จริงตามวัตถุประสงค์ของงานวิจัย รวมถึงสามารถช่วยเป็นระบบในการ สนับสนุนการตัดสินใจและเป็นโครงร่างระบบเพื่อขยายไปสู่ส่วนงานอื่นในโรงงานกรณีศึกษา |
Description: | วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี |
URI: | http://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/24_1/08.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66496 |
ISSN: | 2672-9695 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.