Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66461
Title: ผลกระทบของพื้นผิวสัมผัสถุงมือต่อแรงบีบมือ
Other Titles: Effect of glove contact surface on grip strength
Authors: อามีณา เมฆารัฐ
กลางเดือน โพชนา
Authors: อามีณา เมฆารัฐ
กลางเดือน โพชนา
Keywords: ถุงมือแรงบีบมือ;พื้นผิวสัมผัส
Issue Date: 2560
Publisher: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ 24, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2560), 41-50
Abstract: การวิยนี้มีวัตถุประสงคเ์พื่อศึกษาผลกระทบของพื้นผิวสัมผัสถุงมือต่อแรงบีบมือโดยศึกษาจากถุงมือผ้าฝ้ายที่มียางเคลือบบริเวณผิวสัมผัสของฝ่ามือ ซึ่งเป็นถุงมือที่มีใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการผลิต การก่อสร้างและในงานด้านเกษตรกรรม ซึ่งลักษณะของการใช้ถุงมือ 5 แบบ คือ 1) มือเปล่า 2)ถุงมือผ้าฝ้ายไม่มีลวดลาย 3)ถุงมือผ้าฝ้ายลายจุดทั่วฝ่ามือ 4)ถุงมือผ้าฝ้ายลายจุดสลับลายอื่น ๆ และ 5)ถุงมือผ้าฝ้ายเคลือบยางทั้งฝ่ามือโดยใช้กลุ่มตัวอย่าง 31 คน เป็นเพศชายทั้งหมดมีอายุระหวา่ง 20 – 40 ปีผู้เข้าร่วมทั้งหมดมีสุขภาพดีและไม่เคยมีประวัติของการบาดเจ็บรุนแรงบริเวณแขน และข้อมือการวัดค่าแรงบีบมือทำการวัดด้วยเครื่องมือ Hand dynamometer โดยวัด 2 ท่าคือ ท่างอข้อศอก 90 องศา และ ท่าปล่อยแขนตรงการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธี paired t-test สถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว(One-way ANOVA)และใช้สถิติวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ยรายคู่ (pairwise comparisons) ด้วยวิธี Tukey ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการวิจัยพบว่าเมื่อใช้มือเปล่าจะได้ค่าเฉลี่ยแรงบีบมือสูงสุด (33.48 กก. ในท่างอข้อศอก 90 องศาและ 34.10 กก. ในท่าปล่อยแขนตรง)และเมื่อใช้ถุงมือผ้าฝ้ายถักเคลือบด้วยยางทั้งฝ่ามือจะมีค่าต่ำสุด (27.71 กก. ในท่างอข้อศอก 90 องศา และ 28.23 กก. ในท่าปล่อยแขนตรง)จากผลการวิเคราะห์ทางสถิติสรุปได้ว่าการสวมใส่ถุงมือที่เคลือบ ด้วยยางทั้งฝ่ามืออาจไม่ เหมาะสำหรับงานที่ต้องใช้แรงบีบมือในการทำ งาน
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี
URI: http://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/24_3/05.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66461
ISSN: 2672-9695
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.