Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66410
Title: การผลิตเอทานอลจากสาหร่ายที่เพาะเลี้ยงในน้ำเสียจากอุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้
Other Titles: Ethanol Production from Algae in Cultivation Using Waste Water of Vegetable and Fruit Processing Plant
Authors: สุภกิจ ไชยพุฒ
เรวัตร พงษ์พิสุทธินันท์
วาสนา คำโอภาส
วศิน วงศ์วิไล
คมสัน เรืองฤทธิ์
Authors: สุภกิจ ไชยพุฒ
เรวัตร พงษ์พิสุทธินันท์
วาสนา คำโอภาส
วศิน วงศ์วิไล
คมสัน เรืองฤทธิ์
Keywords: เอทานอล;การเพาะเลี้ยงสาหร่าย;น้ำเสีย;อุตสาหกรรมแปรรูปผักและผลไม้
Issue Date: 2562
Publisher: คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ 26, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2562), 193-206
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาการผลิตเอทานอลจากสาหร่ายที่เพาะเลี้ยงในน้ำ เสียจากโรงงานแปรรูปและพัฒนาผลิตภณัฑ์ มูลนิธิโครงการหลวง โดยได้ทำการศึกษากระบวนการเตรียมสาหร่ายเพื่อใช้ในการผลิตเอทานอลศึกษาการผลิตเอทานอล จากสาหร่ายท้ัง 4 สายพันธุ์ได้แก่ Pediastrum sp. AARL G060, Chlorella sp. AARL G049, Microalgal consortium และ Scenedesmus sp.AARL G085 และวิเคราะห์ต้นทุน และความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ซึ่งผล การศึกษา ได้ว่า สาหร่ายสายพันธุ์Microalgal consortium มีความเหมาะสมที่สุด ในการนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต เอทานอลด้วยวิธีการระเบิดด้วยไอน้ำ (Steam explosion) ที่ความดัน 45 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว เป็นเวลา 50 นาทีร่วมกับการย่อยเซลลูโลส ด้วยเอนไซม์เซลลูเลส 2.00 (มิลลิลิตรต่อสาหร่าย 1 กรัม) บ่มที่ 50 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 70 ชั่วโมง ซึ่งทำให้ได้น้ำตาลรีดิวซ์เท่ากับ 20.25 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ปริมาณน้้ำ ตาลทั้งหมด เท่ากับ 21.36 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และ น้ำตาลนอนรีดิวซ์เท่ากับ 1.10 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร นอกจากนี้การผลิตเอทานอลจากสาหร่ายด้วยเชื้อ Saccharomyces cerevisiae ที่เหมาะสมพบว่า ความเป็นกรด-ด่างที่เหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อเท่ากับ 6.71 ใช้ปริมาณเชื้อ Saccharomyces cerevisiae ร้อยละ 1.30 บ่มที่อุณหภูมิหอ้งเป็นระยะเวลา 8 วัน ความเข้มข้นของเอทานอลที่ผลิตได้อยู่ ที่ร้อยละ 7.17 สำหรับกระบวนการผลิตเอทานอลจากสาหร่าย Microalgal consortium จำนวน 400 กรัม โดยผ่าน กระบวนการเตรียมสาหร่ายและกระบวนการผลิตเอทานอลในสภาวะที่เหมาะสม พบว่า เอทานอลที่ได้มีความเข้มข้น ร้อย ละ 7.30 ปริมาณน้ำตาลปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ที่เหลือจากการบ่ม เท่ากับ 1.15 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ปริมาณของเหลวที่ได้ 3,289 มิลลิลิตร ต้นทุนการผลิตเอทานอลจากสาหร่าย มีค่าเท่ากับ 39.08 บาทต่อลิตร ซึ้งมีระยะเวลาการคืนทุนในการผลิต เอทานอล มีค่าเท่ากบั 4.77 ปีและมีอัตราผลตอบแทนในการลงทุน มีค่าเท่ากับ 21% ตามลำดับ
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี
URI: http://researchs.eng.cmu.ac.th/UserFiles/File/Journal/26_1/16.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66410
ISSN: 2672-9695
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.