Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66365
Title: ส่องแสงแลเงาอดีตที่ทอดยาวถึงปัจจุบันสู่การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย
Other Titles: Shining Light - Seeing Shadows, Passed on from the Past to the Present, Towards the Creation of Contemporary Art.
Authors: สุกรี เกษรเกศรา
Jan De Vleeschauwer
Authors: สุกรี เกษรเกศรา
Jan De Vleeschauwer
Keywords: ส่องแสงแลเงา;ศิลปะร่วมสมัย;ศิลปะจัดวาง;วีดิโออาร์ต;Shining Light - Seeing Shadows;Contemporary Art;Installation Art;VideoArt
Issue Date: 2561
Publisher: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิจิตรศิลป์ 9, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2561), 274-310
Abstract: ศิลปะการแสดงหนังตะลุงเป็นวัฒนธรรมของชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ที่สืบทอด มายาวนานหลายยุคหลายสมัย หนังตะลุงทำหน้าที่ทั้งที่เป็นสื่อบันเทิงและ ถ่ายทอดศีลธรรม จริยธรรม ตลอดจนข่าวสารให้กับประชาชน ปัจจุบันเกิด การเปลี่ยนแปลงไปค่อนข้างมาก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรม ทำให้หนังตะลุงมีการปรับเปลี่ยนทั้งเนื้อหาและรูปแบบการแสดง ทั้งการนำสื่อ เครื่องมือและเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ผสมผสานในการแสดงหนังตะลุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ ประกอบกับประชาชนทั้งในภาคใต้และท้องถิ่นอื่นๆ ในประเทศไทยสนใจและเข้าใจศิลปะการแสดงหนังตะลุงน้อยลงผลงานสร้างสรรค์ เรื่อง ส่องแสงแลเงาอดีตที่ทอดยาวถึงปัจจุบันสู่การสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา องค์ประกอบ ลักษณะและรูปแบบ ตลอดจนคติความเชื่อและอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของศิลปะการแสดงหนังตะลุงของท้องถิ่นภาคใต้ ของประเทศไทย ผ่านการวิเคราะห์และสังเคราะห์เพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัย (contemporary art) ที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ของหนังตะลุงภาคใต้ สำหรับเป็นสื่อเผยแพร่วัฒนธรรมภาคใต้ในพื้นที่อื่น มีลักษณะเป็นงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ศิลปะ (art creative research) ขั้นตอนการศึกษาประกอบด้วย การศึกษาศิลปะการแสดงหนังตะลุงภาคใต้ วิเคราะห์ (analysis) คุณค่า อัตลักษณ์ ตลอดจนองค์ประกอบของการแสดงหนังตะลุง และนำผลที่ได้จากการศึกษาในขั้นตอนแรกมาทำ การสังเคราะห์ (synthesis) เพื่อสร้างสรรค์ศิลปะ (creative art) ผลการศึกษาพบว่าคุณค่าและอัตลักษณ์ของหนังตะลุงภาคใต้ คือ ขนบนิยมหรือ ลำดับขั้นตอนการแสดงหนังตะลุง เช่น การทักทายโรงหนัง การตั้งเครื่องเบิก หนัง โรงหนังตะลุง แสงไฟ เครื่องขยายเสียง เครื่องดนตรีแบบดั้งเดิมและสากล ลูกคู่ และสื่อเทคโนโลยีสมัยใหม่ ในการสร้างสรรค์ศิลปะร่วมสมัยได้แรงบันดาลใจจากคุณค่าอัตลักษณ์ของหนังตะลุงภาคใต้ คือ การโหมโรง การออกรูปฉะ และรูปทรงจากตัวหนัง และองค์ประกอบในการแสดงหนังตะลุง คือ แสงก่อให้เกิดเงา เสียงจากดนตรี การพากษ์ สีสันลวดลายจากรูปตัวหนัง และเรื่องบทหนังตะลุง มาเป็นแนวคิดเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานรูปทรง 3 มิติ เน้นส่องแสงไฟไปยังผลงานก่อให้เกิดเงา และจัดการกับพื้นที่แสดง แทรกผลงานเข้ากับพื้นที่ที่มีอยู่เดิม เช่น ประตู ช่องลม และกระจก ให้เป็นส่วนหนึ่งของผลงานตามแนวคิดศิลปะจัดวาง นำเสนอในรูปแบบศิลปะจัดวาง (installation art) และวิดีโออาร์ต (video art) จัดวางผลงานโดยรอบผนังและพื้นที่ห้องจัดแสดง จำนวนผลงาน 8 ชุด 10 ชิ้น ด้วยวัสดุสมัยใหม่ แผ่นอะคริลิคใส สีเมจิก ผ้า กระดาษ หลอดไฟ แผ่นพลาสติกใส และร่มผ้าดิบ นำสื่อสมัยใหม่อย่างวิดีโอเครื่องฉายโปรเจคเตอร์มาใช้ตามแนวงานวิดีโออาร์ต โหมโรง ออกลิงหัวค่าออกฤาษี ออกรูปฉะออกรูปพระอิศวรทรงโค และออกปรายหน้าบท เป็นต้น และการเล่นเงาจากการเชิดรูปหนัง และองค์ประกอบต่างๆ ในศิลปะการแสดงหนังตะลุง คือ นายหนัง จอหนัง รูปหนัง เรื่องบท
Description: วารสารวิจิตรศิลป์ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ม.ค. – มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม ประเภทของเรื่องที่จะตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/99673/118048
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66365
ISSN: 1906-0572
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.