Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66356
Title: ปฐมบทแห่งสถาปัตยกรรมสมัยใหม่ในประเทศไทย
Other Titles: The First Episode of Modern Architecture in Thailand.
Authors: กฤษณา หงษ์อุเทน
Authors: กฤษณา หงษ์อุเทน
Keywords: พัฒนาการของสถาปัตยกรรมไทย;สถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 3;ผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของ สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์
Issue Date: 2561
Publisher: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารวิจิตรศิลป์ 9, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2561), 1-51
Abstract: สถาปัตยกรรมรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว นับเป็นจุดเริ่มต้น ของ การเพาะบ่มต้นกล้าของสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างและการตกแต่งอาคารที่ต่างไปจากสถาปัตยกรรมไทยดั้งเดิม อันเป็นผลมาจากอิทธิพลของศิลปะจีน วัดราชโอรสรามคือต้นแบบ สำคัญของ วัดนอกอย่าง สร้างขึ้นช่วงปลายรัชกาลที่ 2 และต่อมาได้กลาย มาเป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแนวพระราชนิยมสมัยรัชกาลที่ 3 นอกจากนี้ ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็น ยุคทองของการช่างสมัยรัตนโกสินทร์ ยังมีการออกแบบก่อสร้างสถาปัตยกรรม รูปแบบใหม่ ที่ไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประเทศสยามอีกด้วย เช่น โลหปราสาท วัดราชนัดดาราม และธรรมนาวา วัดยานนาวา เป็นต้น นโยบายการเปิดเสรีทางการค้ากับประเทศตะวันตก การเร่งพัฒนาประเทศให้ ทันสมัยในทุกๆ ด้านตามแบบแผนตะวันตก รวมทั้งการเปิดรับวิทยาการสมัย ใหม่และเทคโนโลยีอันก้าวหน้าและทันสมัยของชาวยุโรปในสมัยรัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 คือปัจจัยหลักซึ่งทำให้ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม และคตินิยมแบบตะวันตกหลั่งไหลเข้ามาผสมผสานและมีอิทธิพลต่อ ศิลปวัฒนธรรมของไทย รสนิยมทางศิลปะที่เปลี่ยนไปในแนวสากล ของพระมหากษัตริย์ผู้ทรงอุปถัมภ์ศิลปะทุกสาขา ส่งผลให้รูปแบบและเนื้อหา การสร้างงานศิลปะทุกสาขาโดยเฉพาะรูปแบบสถาปัตยกรรมเปลี่ยนแปลงไป ตามพระราชนิยม และเริ่มพัฒนาไปสู่แนวทางที่เป็นสากลมากขึ้นในระยะต่อมา สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม เป็นหนึ่งในผู้มีบทบาทสำคัญที่นำพาประเทศให้ก้าวเข้าสู่ ยุคแห่งการแตก กิ่งก้านงอกงามของสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ ผลงานการออกแบบสถาปัตยกรรมของสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรา นุวัดติวงศ์ สะท้อนให้เห็นความรอบรู้ ความสันทัด จัดเจน และความเชี่ยวชาญ อย่างลึกซึ้งกว้างขวางในสถาปัตยกรรมตะวันออกและตะวันตก รวมทั้งการนำ องค์ความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบอย่างชาญฉลาด จนทำให้ ทรงสามารถพัฒนาแนวคิดในการออกแบบและคลี่คลายรูปแบบการสร้างสรรค์ สถาปัตยกรรมแนวใหม่อันเป็นเอกลักษณ์ของพระองค์เองได้สำเร็จ กลายเป็น แรงบันดาลใจและแบบแผนในการออกแบบสถาปัตยกรรมให้แก่ศิลปินรุ่นหลัง ในยุคต่อมา
Description: วารสารวิจิตรศิลป์ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ม.ค. – มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม ประเภทของเรื่องที่จะตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/94231/73676
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66356
ISSN: 1906-0572
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.