Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66342
Title: | กลุ่มชาติพันธุ์จากพม่า และการสร้าง ความเป็นพม่า ผ่านจิตรกรรมฝาผนังในล้านนา |
Other Titles: | Ethnic groups from Burma(Myanmar) and the creation of a common Burmese-ness through mural paintings in Lanna |
Authors: | ธัญญารัตน์ อภิวงค์ |
Authors: | ธัญญารัตน์ อภิวงค์ |
Keywords: | พม่า;ชาติพันธุ์;จิตรกรรมฝาผนัง;ล้านนา;วัดในภาคเหนือ;Burmese;Burma;Myanmar;ethnicity;mural paintings |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | วารสารวิจิตรศิลป์ 8, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2560), 23-59 |
Abstract: | ดินแดนล้านนาหรือภาคเหนือของไทยมีความหลากหลายทางชาติพันธุ์และการผสมผสานของพหุวัฒนธรรมที่แตกต่างจากพื้นที่แห่งอื่นในประเทศไทย จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณสถานชี้ให้เห็นว่าภาคเหนือเป็นพื้นที่ซึ่งมีร่องรอยที่แสดงถึงการยอมรับวัฒนธรรมทางวัตถุแบบพม่า เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมทางวัตถุในสังคมท้องถิ่น เนื่องด้วยเหตุผลที่สำคัญ คือ การที่ล้านนาเคยถูกปกครองโดยพม่าถึงสองร้อยกว่าปี ( ค.ศ.1558-1774) แม้จะไม่มีร่องรอยของสิ่งก่อสร้างแบบพม่าจากยุคนี้หลงเหลือให้เห็นมากนักในปัจจุบัน แต่ก็ถือได้ว่าเป็นรากฐานที่ทำให้ผู้คนในภาคเหนือคุ้นเคยกับการมีอยู่ของวัฒนธรรมพม่าภายในท้องถิ่น และอีกหนึ่งเหตุผลที่สำคัญคือ การที่พระเจ้ากาวิละ(เจ้าเมืองเชียงใหม่ ค.ศ.1782-1813) กวาดต้อนผู้คนจากดินแดนใกล้เคียง (ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศพม่า) เข้ามาเป็นพลเมืองของล้านนา ทำให้ล้านนามีประชากรที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ ต่อเนื่องด้วยการหลั่งไหลเข้ามาของชาวพม่าที่เข้ามากับบริษัทค้าไม้ของอังกฤษในยุคอาณานิคม จนกลายมาเป็นกลุ่มนายทุนและพ่อค้าที่สำคัญต่อเศรษฐกิจล้านนาในปลายศริสต์ศตวรรษที่19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เกิดเป็นชุมชนชาวพม่าผู้สร้างอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมแบบพม่าให้เป็นที่รับรู้ในสังคมไทย กลุ่มชาติพันธุ์จากพม่าที่อพยพเข้ามาในล้านนาอย่างต่อเนื่องจึงเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดวัฒนธรรมทางวัตถุแบบพม่าสู่สังคมท้องถิ่น ทำให้ภาพอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของพม่าครอบคลุมอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่พม่า และกลายเป็นตัวแทนของอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมแบบพม่าให้คนไทยได้รับรู้ จิตรกรรมฝาผนัง เป็นหนึ่งในวัฒธรรมทางวัตถุที่แสดงให้เห็นความหลากหลายทางชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ร่วมกันในสังคม การวาดจิตกรรมฝาผนังภายในวัดซึ่งถือเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ ไม่เพียงแต่เป็นการส่งผ่านแนวคิด คำสอนและเรื่องเล่าทางพุทธศาสนา ยังสะท้อนความคิดและอุดมการณ์ของคนในชุมชนท้องถิ่นที่ได้ไตร่ตรองผ่านการจัดวางองค์ประกอบของภาพในการเล่าเรื่อง(กรีน 2558, 34) ภาพที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนังภายในวัดมักแสดงให้เห็นความหลากหลายทางชาติพันธุ์ของชุมชนท้องถิ่น โดยพิจารณาได้จากเครื่องแต่งกาย ทรงผม และหนวดเคราบนใบหน้า(Wyatt 2004, 68) หากสังเกตจากเครื่องแต่งกายและทรงผมของบุคคลที่ปรากฏบนจิตรกรรมฝาผนัง ทำให้เราเห็นภาพของชาวพม่า(บุคคลที่แต่งกายแบบพม่า) ปรากฏอยู่บนจิตรกรรมฝาผนังของวัดหลายแห่งในภาคเหนือ สะท้อนให้เห็นว่าจิตรกรรมฝาผนังเหล่านี้ได้รับการอุปถัมภ์โดยคหบดีชาวพม่าที่อพยพเข้ามาอาศัยอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทยในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 |
Description: | วารสารวิจิตรศิลป์ มีกำหนดออกปีละ 2 ฉบับ ฉบับที่ 1 ม.ค. – มิถุนายน ฉบับที่ 2 กรกฎาคม – ธันวาคม ประเภทของเรื่องที่จะตีพิมพ์ ได้แก่ บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77838/73359 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66342 |
ISSN: | 1906-0572 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.