Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66308
Title: การเร่งการสุกของมะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ต่อคุณลักษณะทางเคมีกายภาพ และสารหอมระเหย
Other Titles: Acceleration of ‘Nam Dok Mai’ Mango Ripening Effecting Physicochemical and Volatile Characteristics
Authors: วรวลัญช์ ฉิมพะเนาว์
Authors: วรวลัญช์ ฉิมพะเนาว์
Keywords: มะม่วง (Mango);เอทีฟอน (ethephon);แคลเซียมคาร์ไบด์ (calcium carbide);คุณลักษณะทางเคมีกายภาพ (physicochemical characteristics);สารหอมระเหยให้กลิ่น (volatile compounds)
Issue Date: 2562
Publisher: คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเกษตร 35, 1 (ม.ค. 2562), 1-11
Abstract: ผลของสารเอทีฟอน (250, 500, 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร) และการใช้ถ่านแก๊สหรือแคลเซียมคาร์ไบด์ ที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงคุณลักษณะทางเคมีกายภาพและสารหอมระเหยในเนื้อมะม่วงน้ำดอกไม้สีทอง พบว่าผลมะม่วงดิบ ที่นำมาเร่งการสุกโดยการใช้สารละลายเอทีฟอนความเข้มข้น 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร และการใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ เริ่มสังเกตเห็นการสุกของเนื้อมะม่วงเมื่อเวลาผ่านไป 3 วัน เท่ากัน แต่มีลักษณะการสุกและรสชาติแตกต่างกัน โดยการใช้สารละลายเอทีฟอนความเข้มข้น 750 และ 1,000 มิลลิกรัมต่อลิตร ทำให้เปลือกมะม่วงมีสีเหลืองปนเขียว เนื้อมะม่วงมีสีเหลืองแบบมะม่วงสุก แต่ยังมีลักษณะแข็งและแน่นอยู่ เนื้อมะม่วงมีรสหวานอมเปรี้ยว ซึ่งลักษณะเนื้อมะม่วงที่ได้รวมถึงรสชาติมีความเหมาะสมสำหรับการนำไปแปรรูปต่อ ซึ่งหากนำไปใช้ทางการค้า การใช้สารละลายเอทีฟอนความเข้มข้น 750 มิลลิกรัมต่อลิตร มีความเหมาะสมมากที่สุด ทั้งคุณภาพผลมะม่วงสุกที่ได้รวมถึงความปลอดภัยและความประหยัด ในขณะที่การใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ ผลมะม่วงที่ได้มีการสุกที่ไม่สม่ำเสมอ รวมถึงลักษณะเนื้อมะม่วงที่มีลักษณะนิ่มเกินไปและรสชาติที่หวานเกินไป จึงไม่เหมาะสมสำหรับการนำไปแปรรูปต่อ เมื่อวิเคราะห์สารหอมระเหยในเนื้อมะม่วงโดยใช้ gas chromatography - mass spectrometry (GC-MS) พบว่าสารประกอบระเหยที่พบมากในเนื้อมะม่วงสุกคือ butanoic acid และ รองลงมาคือ สาร 3-carene, 4-carene, α-pinene, octanoic acid, 1,3,6-octatriene, β-caryophyllene, α-caryophyllene และ (3E,5Z)-undeca-1,3,5-triene นอกจากนี้ ยังพบว่าการเร่งการสุกโดยใช้สารละลายเอทีฟอนความเข้มข้น 750 มิลลิกรัมต่อลิตร และการใช้แคลเซียมคาร์ไบด์ ทำให้เนื้อมะม่วงมีปริมาณสารหอมระเหยมากกว่าเนื้อมะม่วงที่ปล่อยให้สุกเองถึงเกือบ 2 เท่า
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (ม.ค. พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00141_C01117.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66308
ISSN: 0857-0841
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.