Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66272
Title: การขยายตัวของเมืองกับการเปลี่ยนแปลงบริบทของย่านเมืองเก่าในจังหวัดเชียงใหม่
Other Titles: Urbanization and urban context variants of old districts in Chiang Mai
Authors: อัมพิกา ชุมมัธยา
ณวิทย์ อ่องแสวงชัย
Authors: อัมพิกา ชุมมัธยา
ณวิทย์ อ่องแสวงชัย
Keywords: ความเป็นย่าน;รูปแบบสัณฐานของเมือง;การสำรวจระยะไกล;บริบทเมือง;พลวัตของเมือง
Issue Date: 2561
Publisher: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: เจ-ดี : วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม 5, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 60-81
Abstract: บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบสัณฐาน และปัจจัยที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเมือง เชียงใหม่เบื้องต้นในมิติเชิงพื้นที่ โดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสำรวจระยะไกลของLandsat–5 และ Landsat–8 ตั้งแต่ปี พ.ศ.2543–2558 Geo–Informatics and Space Technology Development Agency – GISTDA ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลาที่เมืองมีการเปลี่ยนแปลงนโยบาย และแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจหลังจากวิกฤตการณ์ทางการเงินรวมถึงจากรัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2540 ทำให้ประชาชนเกิดการมีส่วนร่วมต่อการพัฒนาเมืองและการทำงานของภาครัฐอย่างกว้างขวางมากขึ้น ส่งผลให้สภาพแวดล้อมทางกายภาพของเมืองเชียงใหม่เกิดการเปลี่ยนแปลงหลากหลายรูปแบบ ซึ่งผลจากวิเคราะห์เชิงพื้นที่ โดยการจำแนกเชิงวัตถุ จาก Landsat TM Image Resolution 30 meters, Band 7, 4, 3 ร่วมกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสารสนเทศทางภูมิศาสตร์ พบว่า พื้นที่เมืองมีการขยายตัวอย่างชัดเจนใน 3 ช่วงเวลา ได้แก่ ช่วงที่ 1 (พ.ศ.2543–2547) ขยายไปทางทิศตะวันตก ช่วงที่ 2 (พ.ศ.2547–2553) ขยายไปทางทิศเหนือและใต้ และช่วงที่ 3 (พ.ศ.2552–2558) ขยายไปทางทิศตะวันออก จากปัจจัยดึงดูดที่แตกต่างกันไป และจากการสังเกตและการสัมภาษณ์ข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ในส่วนศูนย์กลางเมืองเก่าเพิ่มเติม พบข้อมูลที่ชัดเจนว่า ส่วนใหญ่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งรูปแบบการอยู่อาศัย สภาพแวดล้อม และปัจจัยการดำรงชีพของมนุษย์ตามพลวัตของเมืองที่มีการเปลี่ยนผ่านบริบทพื้นที่ศูนย์กลางเมืองเก่าเป็นพื้นที่ย่านเศรษฐกิจเพื่อการท่องเที่ยวโดยปราศจากข้อกำหนดที่เหมาะสมจนกระทั่งผังเมืองรวมเมืองเชียงใหม่ พ.ศ.2555 และกฎหมายเทศบัญญัติเทศบาลนครเชียงใหม่ พ.ศ.2557 ทำให้เกิดการครอบครองการใช้ที่ดิน และการกำหนดขอบเขตเมืองที่ขยายกว้างออกไปอย่างไม่มีขอบเขตที่แน่ชัดทั้งทางกายภาพ สังคม หรือวัฒนธรรม จนกระทั่งส่งผลกระทบถึงการรับรู้บริบทเชิงพื้นที่ของย่านเมืองเก่าที่ค่อยๆ เลือนหาย ทั้งด้านเอกลักษณ์ โครงสร้าง และความหมายของความเป็นล้านนา อันเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรม และฟื้นฟูบริบทของย่านเมืองเก่าเชียงใหม่ ตลอดจนการ วางนโยบายการพัฒนาที่สอดรับกับบริบทที่หลากหลายของเมืองในปัจจุบันอย่างสมดุล
Description: วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบัน
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/136827/101976
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66272
ISSN: 2351-0935
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.