Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66256
Title: | ผลของโปรแกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงต่อพฤติกรรมการปฏิบัติตน และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของบุคคลกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง |
Other Titles: | Effects of Hypertension Prevention Program on Practical Behaviors and Blood Pressure Levels among High risk of Hypertensive Persons |
Authors: | วงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา สุภาพร แนวบุตร ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์ |
Authors: | วงค์ชญพจณ์ พรหมศิลา สุภาพร แนวบุตร ประทุมา ฤทธิ์โพธิ์ |
Keywords: | กลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง;โปรแกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูง;พฤติกรรมการปฏิบัติตน;ความดันโลหิต;ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 46, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562), 95-107 |
Abstract: | โรคความดันโลหิตสูง เป็นภัยเงียบและสาเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตที่ทวีความรุนแรงขึ้น การป้องกันระยะก่อนการป่วยด้วยการส่งเสริมการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคจึงมีความสำคัญ อีกทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษา ตลอดจนป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น การวิจัยกึ่งทดลองครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงต่อพฤติกรรม การปฏิบัติตนและระดับความดันโลหิตของบุคคลกลุ่มเสี่ยงที่อาศัยอยู่ในพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลน้ำอ่าง อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างตามคุณสมบัติที่ผู้วิจัยกำหนดจำนวน 60 ราย ใช้เกณฑ์คัดเข้าคือ อายุระหว่าง 35 – 59 ปี ความดันโลหิตขณะพัก มีระดับความดันซิสโตลิก (systolic blood pressure) เท่ากับ 130 – 139 มม.ปรอท และ/หรือมีระดับความดันไดแอสโตลิก (diastolic blood pressure) เท่ากับ 85 – 89 มม.ปรอท ไม่เคยได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าเป็นโรคความดันโลหิตสูงมาก่อน อ่านและเขียนหนังสือไทยได้ และไม่มีการตั้งครรภ์ แบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 30 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลปกติ ส่วนกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันโรคความดันโลหิตสูงเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการพยาบาลของนิวแมน (Neuman,2002)ที่ผ่าน การทดสอบผ่านการตรวจสอบความตรง ตามเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ 3 ท่าน หาค่าดัชนีความสอดคล้องของ ข้อคำถามและวัตถุประสงค์ผ่านระดับ .50 ขึ้นไป และหาค่าความเชื่อมั่นโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาค ได้ค่าเท่ากับ .92 เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติตนและแบบบันทึกระดับความดันโลหิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติบรรยายและเปรียบเทียบ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ independent t-test ผลการวิจัยพบว่า คะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการปฏิบัติตนทั้งด้านอาหาร การออกกำลังกาย อารมณ์และการจัดการความเครียดของกลุ่มทดลองภายหลังได้รับโปรแกรมแตกต่างจากก่อนเข้าร่วมโปรแกรมและแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และค่าเฉลี่ยความดันโลหิตของกลุ่มทดลองแตกต่างจากก่อนเข้าโปรแกรม และแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/197129/137133 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66256 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.