Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66250
Title: | ความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ ในระยะหลังคลอดของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง |
Other Titles: | Anxiety, Social Support, and Postpartum Functional Status Among Mothers with Cesarean Section |
Authors: | กนิษฐา แก้วดู ฉวี เบาทรวง นันทพร แสนศิริพันธ์ |
Authors: | กนิษฐา แก้วดู ฉวี เบาทรวง นันทพร แสนศิริพันธ์ |
Keywords: | ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่;ความวิตกกังวล;การสนับสนุนทางสังคม |
Issue Date: | 2562 |
Publisher: | คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | พยาบาลสาร 46, 2 (เม.ย.-มิ.ย. 2562), 1-12 |
Abstract: | ความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาในระยะหลังคลอด เป็นสิ่งที่บ่งชี้ถึงผลลัพธ์ทางสุขภาพที่สำคัญสำหรับผู้เป็นมารดา การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความวิตกกังวล การสนับสนุนทางสังคม และความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในระยะหลังคลอดของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด กลุ่มตัวอย่างคือ มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดที่อยู่ในระยะ 6 สัปดาห์หลังคลอด จำนวน 102 ราย ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลราชวิถี ระหว่างเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2557 ถึง เดือนมกราคม พ.ศ. 2558 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบประเมินความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ของสปิลเบอร์เกอร์ (1983) ฉบับภาษาไทยโดย ดาราวรรณ ต๊ะปินตา (2534) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .89 แบบสอบถามการสนับสนุนทางสังคมของมารดาหลังคลอดโดย นลินี สิทธิบุญมาและคณะ (2557) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 และแบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาโดย ฉวี เบาทรวง และคณะ (2557) มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา และสถิติสัมประสิทธ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัย พบว่า มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดร้อยละ 56.86 มีความวิตกกังวลต่อสถานการณ์อยู่ในระดับต่ำ มารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอดส่วนใหญ่ (ร้อยละ 79.42 ) ได้รับการสนับสนุนทางสังคมอยู่ในระดับมาก และมารดาส่วนใหญ่ (ร้อยละ 84.31) ระบุว่า สามี คือผู้ที่ให้การสนับสนุนมากที่สุด มารดาหลังคลอดที่ได้รับการผ่าตัดคลอดจำนวนมาก (ร้อยละ 90.20) มีความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาอยู่ในระดับมาก ความวิตกกังวลมีความสัมพันธ์ทางลบในระดับปานกลาง กับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.503, p < .01) การสนับสนุนทางสังคมมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลาง กับความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .385, p < .01) ผลการวิจัยครั้งนี้สามารถนำไปใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการวางแผนให้การพยาบาลเพื่อส่งเสริมความสามารถในการปฏิบัติหน้าที่ในระยะหลังคลอดของมารดาที่ได้รับการผ่าตัดคลอด |
Description: | วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/197066/137027 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66250 |
ISSN: | 0125-0078 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.