Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66234
Title: การพัฒนาทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยใช้การสะท้อนคิด (Reflective Thinking) ในนักศึกษาพยาบาล
Other Titles: Promoting of Critical Thinking Skills in Nursing Students Through Reflective Thinking
Authors: สุพิมล ขอผล
จินตวีร์พร แป้นแก้ว
ธณัชช์นรี สโรบล
เกศราภรณ์ ชูพันธ์
สุมิตรพร จอมจันทร์
Authors: สุพิมล ขอผล
จินตวีร์พร แป้นแก้ว
ธณัชช์นรี สโรบล
เกศราภรณ์ ชูพันธ์
สุมิตรพร จอมจันทร์
Keywords: การส่งเสริม;การคิดอย่างมีวิจารณญาณ;การสะท้อนคิด;นักศึกษาพยาบาล
Issue Date: 2562
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 46, 1 (ม.ค.-มี.ค. 2562), 87-101
Abstract: การคิดอย่างมีวิจารณญาณ (Critical Thinking) มีความจำเป็นต่อกระบวนการพยาบาลที่มีการเปลี่ยนแปลงและมีความท้าทายมากขึ้นตามลำดับของลักษณะของสังคมในปัจจุบัน พยาบาลต้องอาศัยการคิดวิเคราะห์แก้ปัญหาเพื่อนำไปสู่การวางแผนการพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ ดังนั้นการส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลมีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง การวิจัย กี่งทดลองแบบ Two group pre – post test design นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการจัดการเรียนการสอนโดยใช้การสะท้อนคิด (Reflective Thinking ) กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาพยาบาลศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีเชียงใหม่ จัดเข้ากลุ่มแบบสุ่มอย่างเป็นระบบ ตามผลสัมฤทธิ์การเรียนให้ได้คละรวมกัน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 24 คน ขึ้นฝึกปฏิบัติงานบนหอผู้ป่วยจิตเวช 4 สัปดาห์ ระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม พศ. 2559 กลุ่มทดลองให้เขียนบันทึกการสะท้อนคิดหลังปฏิบัติกิจกรรมการพยาบาลที่กำหนด ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการจัดการเรียนการสอนตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบบันทึกการเขียนการสะท้อนคิดที่สร้างตามแนวคิด Gibbs’s Reflective Cycle และแบบทดสอบทักษะการคิดแบบมีวิจารณญาณของศรีไพร ไชยา (2542) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา, Pair t -test และ independent t-test . ผลการวิจัย พบว่า 1.คะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณก่อนและหลังการขึ้นฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่มทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม อยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง( = 49.2 + 1.33) โดยองค์ประกอบด้านการอนุมาน(inference) มีคะแนนต่ำสุด 2.ในกลุ่มทดลองมีคะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณเพิ่มขึ้นมากกว่าหลังได้รับการเขียนสะท้อนคิดอย่างมีนัยสำคัญ( t = 0.046 , P< 0.05) 3.คะแนนทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณหลังการขึ้นฝึกปฏิบัติของนักศึกษาทั้ง 2 กลุ่ม ทั้งกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ( t = 0.654 , P> 0.05) สรุปได้ว่าการสะท้อนคิด เป็นวิธีการที่ช่วยส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในนักศึกษาพยาบาล และควรมีการหาวิธีการจัดการเรียนการสอนเพื่อเสริมสร้างทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ในด้านการอนุมาน(inference) ให้กับนักศึกษาพยาบาลเนื่องจากการสะท้อนคิดยังไม่สามารถช่วยพัฒนาทักษะในด้านนี้ได้
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/180710/128268
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66234
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.