Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66213
Title: ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า
Other Titles: Occupational Health Hazards and Health Status Related to Risk among Informal Garment Workers
Authors: ประกายน้ำ มากศรี
ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์
ธานี แก้วธรรมานุกูล
Authors: ประกายน้ำ มากศรี
ชวพรพรรณ จันทร์ประสิทธิ์
ธานี แก้วธรรมานุกูล
Keywords: ภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงจากการทำงาน;แรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า;ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงาน
Issue Date: 2561
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 45, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561), 71-83
Abstract: สภาพการทำงานของแรงงานอกระบบตัดเย็บผ้าต่ำกว่ามาตรฐานและเป็นอันตราย ส่งผลให้แรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้ามีความเสี่ยงด้านสุขภาพ การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยคุกคามสุขภาพจากการทำงานและภาวะสุขภาพตามความเสี่ยงของแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้าจำนวน 286 คน ในตำบลสันกำแพง อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า ปัจจัยคุกคามสุขภาพจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่สำคัญ ได้แก่ ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านเคมี คือ การสัมผัสฝุ่นผ้าจากกระบวนการตัดเย็บผ้า (ร้อยละ 99.65) ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้าน การยศาสตร์ ได้แก่ ท่าทางการทำงานไม่เหมาะสม คือ มีการก้มหรือเงยศีรษะขณะทำงาน (ร้อยละ 96.50) มีการบิดเอี้ยวตัว/เอียงตัวขณะทำงาน (ร้อยละ 89.51) มีท่าทางการทำงานในลักษณะซ้ำๆ (ร้อยละ 89.51) มีท่าทางก้มโค้งตัวไปด้านหน้าขณะทำงาน (ร้อยละ 86.71) และนั่งทำงานติดต่อกันเกิน 2 ชั่วโมง (ร้อยละ 81.12) ปัจจัยคุกคามสุขภาพด้านจิตสังคม คือ มีการทำงานอย่างเร่งรีบ เพื่อให้ได้ผลผลิตตามเวลา (ร้อยละ 73.43) ส่วนสภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย คือ การทำงานกับอุปกรณ์/เครื่องมือของมีคม (ร้อยละ 96.50) และอุปกรณ์/เครื่องมือที่ใช้ไฟฟ้า (ร้อยละ 91.26) สำหรับภาวะสุขภาพตามความเสี่ยง พบว่า การเจ็บป่วยที่อาจเกี่ยวเนื่องจากสภาพแวดล้อมการทำงานที่สำคัญ ได้แก่ อาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ (ร้อยละ 85.33) เครียด/กังวลจากงานที่เร่งรีบ (ร้อยละ 71.33) ส่วนการบาดเจ็บที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาพบเพียง ร้อยละ 16.08 ส่วนใหญ่เกิดจากการถูกอุปกรณ์ของมีคมตัด/บาด/ทิ่ม/แทง (ร้อยละ 95.95) อวัยวะที่ได้รับบาดเจ็บในสัดส่วนสูงสุด คือ มือ/นิ้วมือ (ร้อยละ 95.95) ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พยาบาลอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมควรให้ความสำคัญกับการจัดการความเสี่ยงจากการทำงาน โดยเน้นการป้องกันการสัมผัสฝุ่นผ้าจากการทำงาน รวมทั้งการจัดการอาการผิดปกติในระบบโครงร่างกล้ามเนื้อ เพื่อส่งเสริมคุณภาพชีวิตการทำงานของแรงงานนอกระบบตัดเย็บผ้า
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162609/117391
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66213
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.