Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66206
Title: ความกลัวการคลอดบุตรของมารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
Other Titles: Fear of Childbirth among Adolescent Postpartum Mothers and Related Factors
Authors: พุทธชาด แก้วยา
ศิลปชัย ฝั้นพะยอม
Authors: พุทธชาด แก้วยา
ศิลปชัย ฝั้นพะยอม
Keywords: ความกลัวการคลอดบุตร;มารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอด;ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
Issue Date: 2561
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 45, 4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561), 26-36
Abstract: การตั้งครรภ์และการคลอดในวัยรุ่นเป็นภาวะวิกฤติตามวุฒิภาวะ เนื่องจากวัยรุ่นเป็นวัยที่ยังไม่บรรลุวุฒิภาวะทั้งด้านร่างกายและจิตใจ จึงส่งผลให้เกิดความกลัวการคลอดบุตร การวิจัยเชิงพรรณนาแบบหาความสัมพันธ์ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความกลัวการคลอดบุตรของมารดาวัยรุ่นในระยะ หลังคลอดและปัจจัยที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างคือมารดาวัยรุ่นที่ผ่านประสบการณ์การคลอดปกติ จำนวน 90 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามประสบการณ์เกี่ยวกับความกลัวการคลอดบุตร แบบ B ของ วิจมา วิจมา และซาร์ แปลเป็นภาษาไทย โดย นันทพร แสนศิริพันธ์ (2556) แบบสอบถามความวิตกกังวลต่อสถานการณ์ ของสปิลเบอร์เกอร์ และคณะ แปลเป็นภาษาไทยโดย ธาตรี นนทศักดิ์ สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต และดาราวรรณ ต๊ะปินตา (ดาราวรรณ ต๊ะปินตา, 2534) แบบวัดความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง ของ โรเซนเบอร์ก แปลเป็นภาษาไทยโดย สุพรรณี สุ่มเล็ก (2538) ปรับปรุงโดยจิรวรรณ นิมิษภาษ (2551) แบบสอบถามการสนับสนุนของพยาบาลในระยะคลอด ของแบรนตัน และคณะ แปลเป็นภาษาไทยโดย ฉวี เบาทรวง และกรรณิการ์ กันธะรักษา (2555) และแบบวัดความเจ็บปวดในการคลอดชนิดที่เป็นตัวเลข ของเมลแซค และคอส วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่ศึกษาโดยใช้สถิติสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า มารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอดมีความกลัวการคลอดบุตรระดับรุนแรง (x̅ = 77.30, SD = 25.55) ความเจ็บปวดในการคลอดมีความสัมพันธ์ทางบวกระดับปานกลางกับความกลัวการคลอดบุตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .421, p < .01) ความรู้สึกมีคุณค่าในตัวเอง มีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับความกลัวการคลอดบุตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = -.581, p < .01) ความวิตกกังวลต่อสถานการณ์มีความสัมพันธ์ทางบวกระดับสูงกับความกลัวการคลอดบุตร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .818, p < .01) และการสนับสนุนของพยาบาลในระยะคลอดมีความสัมพันธ์ทางลบระดับปานกลางกับความกลัวการคลอดบุตร (r = -.581, p < .01) จากผลงานวิจัยครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่ามารดาวัยรุ่นในระยะหลังคลอดทุกราย ควรได้รับการประเมินความกลัวการคลอดบุตร พยาบาลและผดุงครรภ์ควรพัฒนากลยุทธ์ที่จะช่วยลดความกลัวการคลอดบุตร โดยลดความเจ็บปวดในการคลอด ลดความวิตกกังวล ส่งเสริมความรู้สึกมีคุณค่าในตนเอง และสนับสนุนสตรีวัยรุ่นในระยะคลอด
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/162586/117369
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66206
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.