Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66200
Title: การสนับสนุนการคงอยู่ของน้ำนมในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด: การทบทวนอย่างเป็นระบบ
Other Titles: Supporting of Lactation Maintaining Among Mother of Preterm Infants: A Systematic Review
Authors: อภิญญา ไชยวงศา
บุญฑริกา วงค์คม
พัชรินทร์ เงินทอง
Authors: อภิญญา ไชยวงศา
บุญฑริกา วงค์คม
พัชรินทร์ เงินทอง
Keywords: การสนับสนุน;การคงอยู่ของน้ำนม;มารดาทารกเกิดก่อนกำหนด;การทบทวนอย่างเป็นระบบ
Issue Date: 2561
Publisher: คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: พยาบาลสาร 45, 3 (ก.ค.-ก.ย. 2561), 97-109
Abstract: น้ำนมมารดามีประโยชน์ต่อทารกเกิดก่อนกำหนดทั้งในด้านการพัฒนาและส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกาย จากการศึกษาพบว่ามารดาทารกเกิดก่อนกำหนดมีแนวโน้มที่จะมีการผลิตน้ำนมลดลง การสนับสนุนการคงอยู่ของน้ำนมจึงมีความสำคัญโดยมีเป้าหมายเพื่อให้การผลิตน้ำนมของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดเป็นไปโดยปกติและเพื่อให้ทารกเกิดก่อนกำหนดได้รับน้ำนมมารดาเพียงพอ ด้วยเหตุนี้จึงมีงานวิจัยที่หลากหลายเกี่ยวกับการสนับสนุนการคงอยู่ของน้ำนม ซึ่งยังไม่พบการศึกษาทบทวนอย่างเป็นระบบที่รวบรวมวิธีการสนับสนุนการคงอยู่ของน้ำนมในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด การทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการและประสิทธิผลการสนับสนุนการคงอยู่ของน้ำนมในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด วัดผลลัพธ์จากปริมาณของน้ำนมที่เพิ่มขึ้น ความเพียงพอของปริมาณน้ำนม ระยะเวลาการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา หรือน้ำหนักของทารกที่เพิ่มขึ้น คัดเลือกงานวิจัยทั้งที่ตีพิมพ์และไม่ได้ตีพิมพ์ ทั้งที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่รายงานไว้ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2556 ถึงปี 2561 โดยใช้แนวทางการทบทวนอย่างเป็นระบบของสถาบันโจแอนนาบริกส์ (JBI, 2017) พบงานวิจัยที่ผ่านเกณฑ์การคัดเลือกตามที่กำหนดจำนวน 8 เรื่อง แบ่งเป็นการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม จำนวน 3 เรื่อง งานวิจัยแบบกึ่งทดลอง จำนวน 5 เรื่อง แต่ไม่สามารถนำมาวิเคราะห์เมต้าได้เนื่องจากความแตกต่างของวิธีการจัดกระทำและการวัดผลลัพธ์ ดังนั้นการทบทวนอย่างเป็นระบบในครั้งนี้จึงใช้วิธีการสรุปแบบบรรยายเชิงเนื้อหา ผลลัพธ์ของการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าการส่งเสริมการคงอยู่ของน้ำนมในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดมีวิธีการจัดกระทำอยู่สองประการคือ 1) การจัดการด้านจิตใจของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด ได้แก่ การลดภาวะเครียดของมารดา โดยใช้วิธีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับทารก การให้คำปรึกษา การใช้ดนตรีบำบัด และการให้ความรู้เกี่ยวกับการเลี้ยงบุตรด้วยนมของมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด และ 2) การจัดการด้านร่างกาย ได้แก่ การกระตุ้นการสร้างและการหลั่งน้ำนม การนวดประคบและการบีบน้ำนมหรือปั๊มน้ำนมด้วยเครื่องอย่างต่อเนื่อง จากผลของการทบทวนอย่างเป็นระบบครั้งนี้ ผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะว่า พยาบาลผดุงครรภ์เป็นบุคคลที่มีความสำคัญในการเลือกและประยุกต์ใช้วิธีการส่งเสริมการคงอยู่ของน้ำนมที่เหมาะสมกับมารดาทารกเกิดก่อนกำหนด การผสมผสานวิธีการที่เหมาะสมหลายวิธีให้ผลลัพธ์ที่ดีต่อการคงอยู่ของน้ำนมมารดาเกิดก่อนกำหนดมากกว่าการใช้วิธีเดียว นอกจากนี้ควรมีการวิจัยปฐมภูมิเพิ่มขึ้นเพื่อนำมาวิเคราะห์เมต้าเป็นการยืนยันประสิทธิผลของการสนับสนุนการคงอยู่ของน้ำนมในมารดาทารกเกิดก่อนกำหนดต่อไป
Description: วารสารพยาบาลเป็นวารสารทางวิชาการที่เผยแพร่ความรู้ทางการพยาบาลและการผดุงครรภ์ รวมทั้งความรู้ใหม่ในวงการสุขภาพที่เกี่ยวข้องและเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และ ประสบการณ์เกี่ยวกับวิชาชีพการพยาบาลอีกทั้งเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพและภาพลักษณ์ของวิชาชีพการพยาบาล จัดทำโดย สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ กำหนดออกปีละ 4 ฉบับ
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/cmunursing/article/view/149343/109651
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/66200
ISSN: 0125-0078
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.