Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65982
Title: ผลกระทบของการขยายการผลิตปาล์มน้ำมันต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินทางการเกษตรในภาคใต้ของไทย
Other Titles: The Impact of Oil Palm Expansions on Agricultural Land Use in Southern Thailand
Authors: พัฒนันติ์ บุญญานุพงศ์
Authors: พัฒนันติ์ บุญญานุพงศ์
Keywords: พืชพลังงาน;พืชอาหาร;การใช้ประโยชน์ที่ดิน;ภาคใต้ของประเทศไทย
Issue Date: 2561
Publisher: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 22, 3 (ก.ย.-ธ.ค. 2561), 15-46
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อคาดการณ์ผลกระทบของการขยายการผลิตพืชพลังงาน (ปาล์มน้ำมัน) ที่มีต่อราคาผลผลิตและการใช้ที่ดินทางการเกษตรในการผลิตพืชเศรษฐกิจอื่น (ยางพารา มะพร้าว ทุเรียน มังคุด และข้าว) ในภาคใต้ของไทย ภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (Alternative Energy Development Plan : AEDP2015) โดยการพัฒนาแบบจำลองดุลยภาพบางส่วน (Partial Equilibrium Model) ของพืชแต่ละชนิดที่ประกอบด้วยแบบจำลองพื้นที่เพาะปลูก และแบบจำลองดุลยภาพพืชแต่ละชนิด และประมาณค่าด้วยวิธีกำลังสองน้อยที่สุดสองขั้นตอน (2SLS) และวิธี Seemingly unrelated regression (SUR) เพื่อคาดการณ์ผลกระทบในอนาคตภายใต้แนวโน้มปกติ ซึ่งไม่มีกำหนดเป้าหมายการเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมัน และกรณีแบบจำลองอยู่ภายใต้เป้าหมายแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ผลการศึกษาพบว่าในกรณีแนวโน้มปกติค่าพยากรณ์พื้นที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมัน ทุเรียน และมังคุด มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น โดยพื้นที่ให้ผลผลิตมังคุดเพิ่มขึ้นสูงสุด คิดเป็นร้อยละ 3.33 ต่อปี รองลงมา เป็นพื้นที่ให้ผลผลิตปาล์มน้ำมันร้อยละ 1.94 ต่อปี ขณะที่ค่าพยากรณ์พื้นที่ให้ผลผลิต ยางพารา มะพร้าว และข้าว มีแนวโน้มลดลง สำหรับกรณีแบบจำลองอยู่ภายใต้เป้าหมายแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พบว่าพื้นที่ให้ผลผลิตของยางพารา มะพร้าว ทุเรียน มังคุด และข้าว ลดลง โดยพบว่าพื้นที่ให้ผลผลิตทุเรียนลดลงสูงสุดร้อยละ 15.83 ต่อปี รองลงมาเป็นพื้นที่ให้ผลผลิตมังคุด มะพร้าว และข้าว ร้อยละ 15.61, 2.71 และ2.13 ต่อปี ตามลำดับ นอกจากนี้ ในด้านราคาผลผลิตทั้งพืชพลังงานและพืชอื่นที่เกี่ยวของพบว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในระยะยาวทั้งสองกรณี จากการพยากรณ์ผลกระทบของการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน พบว่าการขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกและราคาผลผลิตพืชเศษฐกิจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน โดยเฉพาะในกรณีที่แบบจำลองอยู่ภายใต้เป้าหมายแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ดังนั้น ในการกำหนดแนวทางการส่งเสริมให้เกษตรกรขยายพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน จำเป็นต้องวิเคราะห์ความเพียงพอของพื้นที่ และความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่เพาะปลูก และมีการกำหนดโซนส่งเสริมอย่างชัดเจน เพื่อลดผลกระทบต่อการผลิตพืชเศรษฐกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง
Description: วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการ
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/144859/120881
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65982
ISSN: 0859-8479
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.