Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65934
Title: | ปัญหาของประเทศและทางออก: ทัศนะของ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร ก่อนการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 |
Other Titles: | Internal Problems and the Solutions: His Serene Highness Sithiporn Kridakara's Views Before the Siamese Revolution of 1932 |
Authors: | ปฐมาวดี วิเชียรนิตย์ |
Authors: | ปฐมาวดี วิเชียรนิตย์ |
Keywords: | ม.จ.สิทธิพร กฤดากร;สมบูรณาญาสิทธิราชย์;ชาวจีนอพยพ |
Issue Date: | 2561 |
Publisher: | มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | มนุษยศาสตร์สาร 19, 1 (ม.ค.-มิ.ย. 2561), 59-92 |
Abstract: | บทความชิ้นนี้ได้นำเอาชุดแนวความคิดของ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร มาศึกษาและพบว่าจุดเน้นอันสำคัญของ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร นั่นก็คือเรื่อง “การกสิกรรม” ซึ่งเกี่ยวโยงกับปัญหาชาวจีนอพยพเข้ามาสยามในยุครัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และสถานการณ์โลกที่กำลังหมุนไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองใหม่ อันเป็นสถานการณ์ที่ล่อแหลมและอันตรายต่อรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์อย่างยิ่ง ม.จ.สิทธิพร กฤดากร ผู้ซึ่งถือว่าเป็น “เจ้านาย” แต่ทรงเป็นเจ้านายที่แปลกประหลาดในยุคจารีตเพราะทรงกราบบังคมทูลลาออกจากราชการเพื่อออกไปทำฟาร์ม แต่ทว่าการลาออกนี้มิได้เป็นการยุติบทบาททางการเมือง แต่กลับเป็นโอกาสในการผลักดันและเสนอความคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่เป้าหมายที่เห็นว่าจะนำพาประเทศไปสู่ความเจริญ นอกจากจะเสนอความคิดสำคัญๆ ผ่านหนังสือพิมพ์ “กสิกร” แล้ว พระองค์ยังได้ทรงอุทิศตนต่องานด้านการเกษตรอย่างยิ่ง อันถือว่าเป็นคุณูปการต่อประเทศสยามในช่วงยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งทัศนะของพระองค์ต่อการเกษตรกรรมและบทบาทของพระองค์ในเรื่องนี้ มิได้ปลอดจาก “การเมือง” แต่กลับผูกพันอย่างแนบแน่นกับเป้าหมายทางการเมืองของพระองค์ นอกจากการเสนอความคิดผ่านหนังสือพิมพ์ “กสิกร” บทบาทอีกด้านของ ม.จ.สิทธิพร กฤดากร คือดำรงตำแหน่งกรรมการองคมนตรี ซึ่งพระองค์ทรงมีบทบาทอย่างยิ่งในการเสนอความคิดเห็น ซึ่งมีลักษณะไปในแนวทาง “ก้าวหน้า” และพยายามหาทางออกให้แก่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ซึ่งเต็มไปด้วยปัญหา ประกอบกับเสียงเรียกร้องของราษฎรให้เกิดความเปลี่ยนแปลง จึงเลือกเสนอความคิดออกมาเพื่อมิให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่เป็นอันตรายต่อระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ |
Description: | มนุษยศาสตร์สาร เป็นวารสารที่ออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคมมนุษยศาสตร์สาร นำเสนอบทความทางวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งมีการจัดทำทั้งรูปแบบตีพิมพ์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 เช่นกัน |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/131604 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65934 |
ISSN: | 2630-0370 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.