Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65931
Title: ต้นทุนการเลี้ยงดูบุตร (อายุ 0-14 ปี) ในประเทศไทย
Other Titles: Cost of raising a child (age 0-14) in Thailand
Authors: เฉลิมพล แจ่มจันทร์
สุภรต์ จรัสสิท
ณัฐณิชา ลอยฟ้า
Authors: เฉลิมพล แจ่มจันทร์
สุภรต์ จรัสสิท
ณัฐณิชา ลอยฟ้า
Keywords: ต้นทุนการเลี้ยงดูบุตร;รายจ่ายเพื่อการบริโภค;ประชากรเด็ก;ความเหลื่อมล้ำ;ประเทศไทย
Issue Date: 2562
Publisher: คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Citation: วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 23, 1 (ม.ค.-เม.ย. 2562), 55-78
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินต้นทุนการเลี้ยงดูบุตร อายุ 0-14 ปี ในประเทศไทย และเพื่อวิเคราะห์ความแตกต่างของต้นทุนในการเลี้ยงดูบุตรตามเศรษฐานะของครัวเรือน ต้นทุนการเลี้ยงดูบุตรในที่นี้คำนวณจากระดับรายจ่ายเพื่อการบริโภคต่อหัวประชากรรายอายุ รวมในช่วงอายุ 0-14 ปี ของประชากรไทยซึ่งได้จากการศึกษาบัญชีกระแสการโอนประชาชาติ ปี 2560 โดยประกอบด้วย รายจ่ายเพื่อการบริโภคภาครัฐ ซึ่งคิดเป็นการอุดหนุนการเลี้ยงดูบุตรจากภาครัฐแก่ครัวเรือน และรายจ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชน ซึ่งคิดเป็นภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือน โดยรายจ่ายทั้งสองส่วน จำแนกออกเป็นด้านการศึกษา ด้านสุขภาพและด้านอื่นๆ ผลจากการศึกษา พบว่า ต้นทุนการเลี้ยงดูบุตร 1 คน มีค่าใช้จ่ายเป็นมูลค่าที่แท้จริงรวม 1.57 ล้านบาท เกือบครึ่งเป็นรายจ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชนและอีกครึ่งเป็นรายจ่ายเพื่อการบริโภคภาครัฐ รายจ่ายด้านการศึกษาคิดเป็นประมาณร้อยละ 32 ของต้นทุนทั้งหมด (เอกชน:รัฐ คิดเป็น 28:4) ด้านสุขภาพ ร้อยละ 7 (เอกชน:รัฐ คิดเป็น 4:3) และด้านอื่นๆ ร้อยละ 61 (เอกชน:รัฐ คิดเป็น 41:20) เมื่อวิเคราะห์ตามระดับเศรษฐานะของครัวเรือน พบว่า ต้นทุนการเลี้ยงดูบุตรในครัวเรือน 20% รวยที่สุด (Q5) คิดเป็น 2.5 เท่าของต้นทุนการเลี้ยงดูบุตรในครัวเรือน 20% จนที่สุด (Q1) สัดส่วนความแตกต่างของรายจ่ายเพื่อการบริโภคของบุตรในครัวเรือน Q5 ต่อ ครัวเรือน Q1 (Q5/Q1) ภาคเอกชนด้านการศึกษา คิดเป็น 35 เท่า ภาคเอกชนด้านสุขภาพ 14 เท่า ภาครัฐด้านการศึกษา 0.56 เท่า ภาครัฐด้านสุขภาพ 2.07 เท่า วิเคราะห์ด้วยค่าดัชนีคัควานี พบว่า ภาระค่าใช้จ่ายของครัวเรือนในการเลี้ยงดูบุตรมีลักษณะเป็นอัตราก้าวหน้าตามระดับเศรษฐานะของครัวเรือน ขณะที่ การอุดหนุนการเลี้ยงดูบุตรจากภาครัฐแก่ครัวเรือนมีลักษณะเป็นอัตราถดถอยซึ่งสามารถช่วยลดความเหลื่อมล้ำระหว่างครัวเรือนที่มีระดับเศรษฐานะแตกต่างกันได้
Description: วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้การดำเนินงานโดยคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รับพิจารณาบทความวิชาการ บทความวิจัย ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับเศรษฐศาสตร์โดยใช้รูปแบบการการพิจารณาบทความโดยที่ผู้ทรงคุณวุฒิจะไม่ทราบชื่อผู้เขียน และผู้เขียนจะไม่ทราบชื่อผู้ทรงคุณวุฒิ (Double Blind Process) มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่วิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ และเป็นสื่อกลางในการรายงานความก้าวหน้าทางวิชาการ
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMJE/article/view/175904/130809
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65931
ISSN: 0859-8479
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.