Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65925
Title: | ขบวนการครูบาศรีวิไชย เงินตรา บุญบารมี บนความเปลี่ยนแปลง ทางเศรษฐกิจของล้านนา |
Other Titles: | Khruba Sriwichai Movement |
Authors: | มนวัธน์ พรหมรัตน์ |
Authors: | มนวัธน์ พรหมรัตน์ |
Keywords: | ครูบาศรีวิไชย;เศรษฐกิจ;เงินตรา;บุญ;ล้านนา |
Issue Date: | 2560 |
Publisher: | มนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Citation: | มนุษยศาสตร์สาร 18, 2 (ก.ค.-ธ.ค. 2560), 84-103 |
Abstract: | ขบวนการครูบาศรีวิไชยเป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองและวัฒนธรรมที่สำคัญในเขตภาคเหนือตอนบน (ล้านนา) ในช่วงครึ่งหลังของพุทธศตวรรษที่ 25 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองเศรษฐกิจ และสังคมอย่างกว้างขวางในล้านนาภายหลังการรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางของรัฐบาลสยาม บทความชิ้นนี้มุ่งศึกษาขบวนการครูบาศรีวิไชยในฐานะผู้กระทำทางเศรษฐกิจในห้วงเวลาดังกล่าว รวมถึงศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจกับมโนทัศน์ที่เกี่ยวเนื่องกับการทำบุญในขบวนการครูบาศรีวิไชย โดยศึกษาผ่านเอกสารชั้นต้นที่สำคัญสองชิ้นซึ่งเขียนโดยผู้ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับครูบา-ศรีวิไชย จากการศึกษาพบว่าขบวนการครูบาศรีวิไชยกลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจแบบใหม่รูปแบบหนึ่ง คือ “ตลาดเคลื่อนที่” ตามสถานที่ต่างๆ ซึ่งขบวนการครูบาศรีวิไชยเดินทางไปก่อสร้างถาวรวัตถุ ตลาดดังกล่าวเป็นทั้งตลาดแรงงานและตลาดสินค้าที่เอื้อประโยชน์ให้กับทั้งชนชั้นนำ พ่อค้า และราษฎรสามัญ ขณะเดียวกันการขยายตัวของระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราที่มีผลตอบแทนเป็นรูปธรรมก็สอดรับกับอุดมการณ์ทางศาสนาของขบวนการครูบา-ศรีวิไชยที่เน้นการสะสมบุญบารมีที่ถูกทำให้เป็นรูปธรรมและมองเห็นได้ ขบวนการครูบาศรีวิไชยจึงทำให้มโนทัศน์เรื่องการทำบุญเป็นสิ่งที่มองเห็นได้และยังส่งผ่านไปสู่สาธารณชนด้วยการใส่ชื่อบุคคลที่ทำบุญผ่านระบบการพิมพ์เผยแพร่ การทำบุญในขบวนการครูบาศรีวิไชยจึงไม่ได้เป็นเพียงแหล่งสะสมบุญแต่ยังเป็นแหล่งสะสมทุนทางสังคมให้แก่กลุ่มพ่อค้าคหบดีในฐานะผู้อุปถัมภ์ศาสนารายใหม่ด้วย นอกจากนี้ขบวนการครูบาศรีวิไชยยังก่อให้เกิดการแสวงบุญที่ไม่จำกัดเฉพาะการเดินทางไปยังสถานศักดิ์สิทธิ์แต่หมายรวมถึงการแสวงบุญผ่านตัวบุคคลด้วย อันหมายถึงครูบาศรีวิไชยในฐานะตนบุญ |
Description: | มนุษยศาสตร์สาร เป็นวารสารที่ออกตรงตามเวลาอย่างต่อเนื่อง โดยตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม และฉบับที่ 3 กันยายน - ธันวาคมมนุษยศาสตร์สาร นำเสนอบทความทางวิชาการ ด้านมนุษยศาสตร์ ซึ่งมีการจัดทำทั้งรูปแบบตีพิมพ์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ โดยเริ่มจัดทำตั้งแต่ปี 2552 เช่นกัน |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/JHUMANS/article/view/127761/96267 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65925 |
ISSN: | 2630-0370 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.