Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65189
Title: การใช้สถิติและวิธีวิจัยของผลงานตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติในฐานข้อมูล Pubmed ของคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระหว่างปี 2550–2552
Other Titles: Statistics research design and methodologies used in scientifi c publications in international journals in pubmed database by staff members of the Faculty of Medicine, Chiang Mai University from 2007 to 2009
Authors: รจนา เผือกจันทึก
สินีนาถ สันติธีรากุล
ทิพวรรณ ยะสง่า
พิมลพรรณ นิธิสุวรรณรักษา
Authors: รจนา เผือกจันทึก
สินีนาถ สันติธีรากุล
ทิพวรรณ ยะสง่า
พิมลพรรณ นิธิสุวรรณรักษา
Issue Date: 2015
Publisher: Faculty of Medicine, Chiang Mai University
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการใช้สถิติ การออกแบบการ วิจัยระเบียบวิธีวิจัย และศึกษารายชื่อวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานของคณาจารยืคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในฐานข้อมูล Pubmed ระหว่างปี พ.ศ. 2550–2552 โดยศึกษาเฉพาะผลงานตีพิมพ์ที่ สามารถสืบค้น full text เพื่อศึกษาดูรายละเอียดการใช้สถิติวิเคราะห์ การออกแบบการวิจัยระเบียบวิธีวิจัย และรายชื่อวารสารที่ตีพิมพ์ผลงานรวมทั้งค่า impact factor ของวารสาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิง พรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่ามัธยฐาน และพิสัย ผลการศึกษาพบ ว่า ผลงานตีพิมพ์ทั้งหมดมี 585 เรื่อง เป็นของภาควิชาปรีคลินิก จํานวน 167 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 28.5 และ ภาควิชาคลินิก จํานวน 418 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 71.5 สัดส่วนผลงานตีพิมพ์ต่ออาจารย์ในภาควิชาปรีคลินิก เท่ากับ 0.42 เรื่องต่อคน และภาควิชาคลินิกมีสัดส่วนผลงานตีพิมพ์ต่ออาจารยื เท่ากับ 0.46 เรื่องต่อคน สถิติวิเคราะห์ที่แสดงในผลงานตีพิมพ์ของคณาจารย์ภาควิชาปรีคลินิก ส่วนใหญ่ใช้ ANOVA และ Student’s t-test จํานวนอย่างละ 29 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 15.7 ของผลงานตีพิมพ์ทั้งหมด ภาควิชาคลินิกส่วนใหญ่ใช้ Chi-square test จํานวน 126 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 15.5 ของผลงานตีพิมพืทั้งหมด การออกแบบการวิจัย และระเบียบวิธีวิจัยในผลงานตีพิมพ์ของคณาจารย์ภาควิชาปรีคลินิก ส่วนใหญ่เป็น experimental study จํานวน 107 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 73.8 ของผลงานตีพิมพ์ทั้งหมด ส่วนภาควิชาคลินิก ส่วนใหญ่เป็น observational (descriptive/report) จํานวน 85 เรื่อง คิดเป็นร่อยละ 25.9 ของผลงานตีพิมพ์ทั้งหมด รายชื่อวารสาร วิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานของคณาจารย์ภาควิชาปรีคลินิกส่วนใหญ่คือ Parasitology research จํานวน 20 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 11.8 ส่วนของภาควิชาคลินิก ส่วนใหญ่คือ Journal of the Medical Association of Thailand จํานวน 77 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 18.5 โดยวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ผลงานของคณาจารย์ภาควิชาปรี คลินิก ที่มีค่า impact factor สูงสุด คือ BLOOD โดยมีค่า impact factor ในปี 2552 เท่ากับ 10.555 ส่วน ของภาควิชาคลินิก คือ New England Journal of Medicine ซึ่งมีค่า impact factor ในปี 2550 เท่ากับ 52.589 ผลงานส่วนใหญ่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการที่มีค่า impact factor อยู่ในช่วง 1.001–5.000 จํานวน 324 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 55.4 และค่า impact factor เฉลี่ยสูงสุดของภาควิชาปรีคลินิกกับภาควิชาคลินิก เท่ากับ 2.592 และ 12.374 ตามลําดบั ผลการศึกษาครั้งนี้ ทําให้ทราบตัวสถติทิ่ีใชวิเคราะห์ข้อมูลที่หลากหลาย รวมทั้งวธิีการออกแบบการวจิัยและระเบียบวธิวีจิยั ซึ่งสามารถใช้เป็นข้อมูลพื้นฐาน ในการพัฒนาการให้บริการ ด้านการให้คําปรึกษาทางสถิติต่อไป
Description: Chiang Mai Medical Journal (Formerly Chiang Mai Medical Bulletin) is an official journal of the Faculty of Medicine, Chiang Mai University. It accepts original papers on clinical and experimental research that are pertinent in the biomedical sciences. The Journal is published 4 issues/year (i.e., Mar, Jun, Sep, and Dec).
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/87578/69149
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65189
ISSN: 0125-5983
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.