Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65117
Title: | จากความมืดสู่แสงสว่างในมือเรา: การสร้างกระบวนการทางศิลปะกับทฤษฎีจิตวิทยาเพื่อกระตุ้นและสนับสนุนการแสดงออกอย่างอิสระของเด็กผู้พิการทางสายตา |
Other Titles: | From Darkness to Light in Hand: The Apply of Art to the Psychological Theories to Urge and Support the Free Expression of Blind Children |
Authors: | ยุพา มหามาตร |
Authors: | ยุพา มหามาตร |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Abstract: | คนตาบอดนั้นสามารถรับรู้ หรือเรียนรู้ถึงสิ่งต่างๆ ได้โดยอาศัยประสาทสัมผัสต่างๆ ที่เขามีอยู่ การฝึกใช้ประสาทสัมผัสต่างๆ ตั้งแต่วัยเด็กเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ควรต้องฝึกด้วยวิธีการต่างๆ ให้เร็วที่สุด และควรจะต้องระลึกอยู่เสมอว่าเด็กตาบอดคือเด็กคนหนึ่งซึ่งเหมือนกับเด็กทั่วไป คือต้องการความอบอุ่นความรัก ความเป็นตัวของตัวเอง และความเข้าใจในความเท่าเทียมของความเป็นมนุษย์โดยแท้จริง ซึ่งควรที่จะต้องได้รับการเอาใจใส่ในการกระตุ้นให้เด็กได้ทำกิจกรรมต่างๆ อย่างต่อเนื่องและเป็นไปอย่างอิสระทางความคิด โดยใช้ประสาทสัมผัสที่เขายังคงมีอยู่ ดังนั้นการสัมผัสด้วยมือ การใช้สายตา การฟังเสียง และการดมกลิ่น ล้วนมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะมีส่วนช่วยให้เด็กได้เรียนรู้และเข้าใจในสิ่งต่างๆ เกี่ยวกับโลกภายนอกได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว เด็กจะไม่สามารถจินตนาการรูปทรงหรือลักษณะของสิ่งของที่แท้จริงได้เลย ถ้าใช้เพียงประสาทสัมผัสที่อยู่ไกลตัวเกินไป หรือเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น และสำหรับกิจกรรมเชิงสุนทรียะทางทัศนศิลป์ทั้งหลาย ถ้าไม่ได้สร้างความเข้าใจในการสื่อสาร ฝึกให้เกิดกระบวนการคิดหรือกระตุ้นให้เกิดการสัมผัสลูบคลำด้วยมือ ก็ไม่อาจขับเคลื่อนกระบวนการสร้างสรรค์ได้ตามแนวทางที่คาดหวังไว้ ดังนั้นการปฏิบัติการสำหรับโครงการในครั้งนี้ล้วนช่วยส่งเสริมการสร้างความหมายในทัศนะของการมีชีวิตอยู่ที่สามารถพึ่งพาตนเองได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกเหนือจากประสาทสัมผัสทั้งหลายนั้นแล้ว การที่จะเข้าให้ถึงความงดงามทางสุนทรียะได้นั้น เพียงได้เปิดใจเพื่อเรียนรู้และยอมรับกับรายละเอียดอย่างลึกซึ้ง ในที่สุดก็จะได้รับรู้รสสัมผัสถึงคุณค่าอย่างแท้จริง ดังนั้นการสร้างกระบวนการทางศิลปะที่มีความเกี่ยวข้องกับทฤษฎีจิตวิทยา จึงดำเนินควบคู่กันไปในทางตรงและทางอ้อม ด้วยกระบวนการที่ผ่านการค้นคว้า ทบทวนกลั่นกรอง ทดลอง ปฏิบัติการ และคัดเลือกตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ความเป็นไปได้ที่ขึ้นอยู่กับลักษณะทางความคิดที่ซับซ้อน บุคลิกภาพพื้นฐานโดยรวมของเด็กตาบอด เวลา สถานที่ และสุนทรียะที่เกิดจากกระบวนการต่างๆ ทางศิลปะยังคงทำหน้าที่เติมเต็มในส่วนที่ขาดพร่องในจิตใจ เป็นตัวเชื่อมโยง ช่วยค้นหาโอกาส ช่วยเปิดพื้นที่ที่ขาดพร่อง และสร้างความเป็นไปได้ของกระบวนการการเรียนรู้เชิงสุนทรียะขึ้นใหม่ในพื้นที่อิสระโดยมีความจำเป็นต้องอาศัยแนวคิดเชิงจิตวิทยาเข้ามามีส่วนร่วมเพื่อช่วยละลายความแตกต่างในปมด้อยทางร่างกาย สร้างความเข้าใจและนำไปใช้อย่างถูกต้องสอดคล้องกับความเป็นไปได้ในการแลกเปลี่ยนที่จำเป็นต้องประยุกต์ใช้จากองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้ว โดยการปรับเปลี่ยนและเพิ่มเติมให้เกิดความเหมาะสมสอดคล้องกับความเป็นลักษณะเฉพาะ เพื่อช่วยกระตุ้นและสนับสนุนการแสดงออกอย่างอิสระของเด็กผู้พิการทางสายตา เหล่านี้เองคือพลังของชีวิตที่ยังคงดำรงอยู่และยังคงขับเคลื่อนต่อไปอย่างไม่สิ้นซึ่งความหวัง ตราบใดที่ลมหายใจยังคงมีอยู่ |
Description: | วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77131/61926 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65117 |
ISSN: | 1906-0572 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.