Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65102
Title: | การเมืองข้ามฝั่งโขง : ความสัมพันธ์ระหว่างน่านกับสิบสองปันนา |
Other Titles: | Politics Across the Mekong River: the Relationship Between Nan and Sipsong Panna in the Nineteenth Century |
Authors: | รัตนาพร เศรษฐกุล |
Authors: | รัตนาพร เศรษฐกุล |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Abstract: | บทความนี้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างน่านกับสิบสองปันนาระหว่างต้น คริสต์ศตวรรษที่ 19 เพื่อวิเคราะห์สาเหตุของสงครามเชียงตุงในทศวรรษ 1850 ผู้เขียนพบว่าความสัมพันธ์ที่ลึกซึ้งระหว่างน่านกับสิบสองปันนาและระบบ รัฐบรรณาการที่สับสนไม่แน่นอนเป็นสาเหตุหนึ่งของสงคราม สาเหตุสำคัญ ประการหนึ่งที่ทำให้สยามโจมตีเชียงตุงและต่อมาน่านพยายามบังคับให้ เชียงแขงยอมรับอำนาจของสยามคือ ความต้องการของสยามที่จะขยายอำนาจ เข้าไปสู่สิบสองปันนาและรัฐไทอื่นๆ เพื่อที่จะปกครองบ้านเมืองฝั่งตะวันออกของ แม่น้ำโขงได้โดยง่าย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวสยามต้องยึดครอง เชียงตุงและบ้านเล็กเมืองน้อยใกล้เคียงที่อยู่ภายใต้ระบบรัฐสองฝ่ายฟ้าหรือ สามฝ่ายฟ้าภายใต้การปกครองของพม่า จีน และเวียดนามให้ได้ น่านเต็มใจ สนับสนุนนโยบายขยายอำนาจของสยามและเป็นตัวแทนของสยามในการก่อตั้ง อำนาจอธิราชเหนือดินแดนเหล่านี้ ทั้งคู่แบ่งปันผลประโยชน์จากการทำสงคราม น่านต้องการปกปักรักษาไพร่พลชาวลื้อที่ตนเองกวาดต้อนมาเพราะกำลังคนมี ความสำคัญอย่างยิ่งต่อความเข้มแข็งทางการเมืองและเศรษฐกิจของรัฐ ความ สัมพันธ์ทางการค้าก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มพูนอำนาจและความมั่งคั่งให้ กับน่าน อำนาจทางการทหารของสยามทำให้อิทธิพลของน่านในฐานะตัวแทน สยามเด่นชัดขึ้น หลังจากสยามยุติสงครามเชียงตุงน่านยังคงขยายอำนาจไปยัง บ้านเมืองอีกฝั่งหนึ่งของแม่น้ำโขงจนกระทั่งอังกฤษและฝรั่งเศสเข้ามาจัดการ ปักปันเขตแดนในปี 1893 การเมืองสองฝั่งแม่น้ำโขงในคริสตศตวรรษที่ 19 ดำเนินไปภายใต้ระบบเครือญาติของกลุ่มคนที่พูดภาษาไทสองฟากฝั่งแม่น้ำนี้ ความสัมพันธ์ฉันบ้านพี่เมืองน้องทำให้น่านขยายอำนาจเข้าไปทางใต้ของสิบสอง ปันนาอย่างสะดวก |
Description: | วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77254/62003 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65102 |
ISSN: | 1906-0572 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.