Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65086
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorมาริ ซากาโมโตen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:39Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:39Z-
dc.date.issued2557en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77237/61990en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65086-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstractบทความเรื่องนี้ม่งุ ศึกษาการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางชาติพันธ์ุระหว่างชาวขมุกับไทลื้อผ่านวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อในเมืองเงิน แขวงไชยะบุรี สปป.ลาว เพื่อวิเคราะห์ลักษณะและสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อผ่านวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อ ตลอดจนวิเคราะห์การใช้ความหมายทางวัฒนธรรมของผ้าทอไทลื้อเพื่อแสดงและสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ ผลการศึกษาพบว่า วัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อเมืองเงินได้เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนในกระบวนการผลิตผ้าทอ และการเลือกสรรผ้าทอที่เป็นเครื่องแต่งกายเกิดผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางชาติพันธุ์ระหว่างชาวขมุกับไทลื้อ โดยเปลี่ยนจากความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกันทั้งในด้านสังคมวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ สู่ความสัมพันธ์แบบมุ่งเน้นปัจจัยด้านเศรษฐกิจเป็นเรื่องสำคัญทั้งนี้ พบว่ามีสาเหตุหลักมาจากการกำหนดนโยบายของรัฐด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมวัฒนธรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์พื้นที่แนวชายแดนไทย-ลาวที่ได้รับอิทธิพลจากกระแสโลกาภิวัตน์ ในสภาพการณ์เหล่านี้ ผ้าทอไทลื้อในปัจจุบันกลายเป็นตัวแทนทางวัฒนธรรมซึ่งกลุ่มชนทั้งสองรวมถึงทางรัฐพยายามช่วงชิงความหมายของผ้าทอไทลื้อเมืองเงิน เพื่อใช้เป็น “ยุทธวิธี” ในการนำเสนอตัวเองไปตามเงื่อนไขสถานการณ์ และผลประโยชน์ กลายเป็นเครื่องมือในการต่อรองอำนาจระหว่างกลุ่มชน หรือระหว่างรัฐกับกลุ่มชน เช่น ในการหยิบยืมและเลือกใช้เครื่องแต่งกายไทลื้อโดยชาวขมุ การใช้ผ้าทอเป็นเครื่องมือในการสร้าง “อัตลักษณ์ที่สามารถซื้อขายได้ (Marketable Identity)” ของชาวไทลื้อ และการใช้ผ้าเช็ดไทลื้อเมืองเงินเป็นสิ่งแสดง “ความเป็นเมืองเงิน” เชื่อมโยงกับ “เมืองแห่งวัฒนธรรมไทลื้อ” เพื่อรณรงค์การท่องเที่ยวและการค้าของหน่วยงานรัฐในท้องถิ่นแต่กระนั้นผู้เขียนพบว่าทั้งชาวขมุและไทลื้อยังดำเนินพิธีกรรมเกี่ยวกับผีบรรพบุรุษและขวัญ โดยมีผ้าทอเป็นสิ่งที่สื่อความหมายเชิงสัญลักษณ์ในพื้นที่ทางความคิดของตน ซึ่งไม่จำเป็นที่จะต้องช่วงชิงความหมายทางวัฒนธรรมจากใครen_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ทาชาติพันธุ์ระหว่างชาวขุกับไทลื้อ : ศึกษาจากวัฒนธรรมผ้าทอไทลื้อในเมืองเงิน แขวงไชยะบุรี สปป.ลาวen_US
dc.title.alternativeThe Change of Ethnic Relations between Khmu and Tai Lue: A Study of Textiles Cultures in Muang Ngoen, Sayabury Province, Lao PDR.en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิจิตรศิลป์en_US
article.volume5en_US
article.stream.affiliationsนักศึกษาปริญญาโท สาขาภูมิภาคศึกษา คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.