Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65061
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.authorปิยะแสง จันทรวงศ์ไพศาลen_US
dc.date.accessioned2019-05-07T10:02:38Z-
dc.date.available2019-05-07T10:02:38Z-
dc.date.issued2556en_US
dc.identifier.issn1906-0572en_US
dc.identifier.urihttps://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77655/62278en_US
dc.identifier.urihttp://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65061-
dc.descriptionวารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)en_US
dc.description.abstractประวัติศาสตร์จิตรกรรมจีนโดยศิลปินหญิงในประเทศจีนนั้นเป็นเพียงชนชั้นกลุ่มน้อยที่ถูกมองข้ามเสมอมา จิตรกรหญิงช่วงสมัยราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิง เช่น กู้เหมย หลี่ชุ่ยหลาน เฉินซู เฉิงฮุ่ย และเจ้าอวี้ ยังอยู่ภายใต้สภาวะแห่งความเป็นสตรีที่อยู่ภายใต้กรอบของประเพณีและจริยธรรม ทำให้ภาพจิตรกรรมจากฝีมือของศิลปินหญิงไม่มีวันถูกนำมาเปรียบเทียบกับผลงานของจิตรกรชายได้เลย ภาพที่ปรากฏนั้นแม้จะดูสวยงามแต่ก็บ่งบอกถึงอารมณ์อันเงียบเหงา รวมทั้งชื่อ ของศิลปินหญิง ที่มีอยู่เพียงเล็ก น้อยเหล่านั้นกลับไม่เป็นที่รู้จักและถูกลืมเลือนไปตามประวัติศาสตร์ จนกระทั่งหลังการปฏิวัติครั้งใหญ่ในจีนนำไปสู่ยุคสมัยใหม่ด้วยการสถาปนา“สาธารณรัฐจีน ” ในเวลาต่อมา ศิลปินหญิง รุ่น ใหม่จึง เริ่ม ปรากฏขึ้น ในสังคมใหม่ หลังปี ค.ศ.1920 ศิลปินหญิงเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงอัจฉริยภาพของเพศหญิงและความมุ่งมั่นตั้งใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเสนอภาพเหมือนของตนเองในการเข้าร่วมแสดงผลงานศิลปะในนิทรรศการศิลปะแห่งชาติที่จัดขึ้นโดยรัฐบาลเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ.1929 ทำให้หลังจากนี้ไปศิลปินหญิงได้เข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงผลงานศิลปะระดับชาติสู่สาธารณชนสืบมานับเป็นการปลดปล่อยพันธนาการของเพศหญิงให้เห็นถึงความเข้มแข็งและความสามารถผ่านผลงานศิลปะในจีน ภายหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน “เหมาเจ๋อตง” ผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์จีนได้กล่าววาทะที่มีชื่อเสียงที่สุดของเขาคือ “ผู้หญิงแบกค้ำฟ้าไว้ครึ่งหนึ่ง” เมื่อ ค.ศ.1968 เป็นวาทกรรมเพื่อต้องการสื่อสารในความหมายของการสร้างชาติสร้างประเทศที่เท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงโดยปราศจากการกดขี่ทางเพศ และให้สตรีมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วนของสังคม โดยเชื่อว่าการต่อสู้ทางการเมืองหรือการทหาร การสร้างชาติจีนใหม่นั้นต้องมีสตรีเป็นส่วนหนึ่งของทั้งหมด ผลงานศิลปะจีนของศิลปินหญิงกับผลงานศิลปะของสตรีได้ถูกนำไปสู่การแสดงออกถึงอัตลักษณ์ส่วนบุคคลของศิลปินหญิงที่มีทัศนะมุมมองต่อกฎระเบียบของสังคม ภายใต้การมองไปถึงแก่นของอารมณ์ ประสบการณ์ และสัมพันธ์ไปถึงเหตุผลเชิงนามธรรม ณ วันนี้ ศิลปะจีนร่วมสมัยยังคงต้องต่อสู้กับข้อจำกัดทางสังคมที่กำหนดถึงนิยามคำว่า “ศิลปะของผู้หญิง” ให้ไปสู่บทนิยามที่กว้างขึ้นของความคิดใหม่ว่าด้วย “ศิลปะสตรี” แม้จะเป็นเรื่องที่ยากแต่เป็นเส้นทางที่ผู้หญิงต้องก้าวผ่านไปให้ได้en_US
dc.languageThaen_US
dc.publisherคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่en_US
dc.titleศิลปินหญิงกับศิลปะจีนสมัยใหม่ และร่วมสมัยen_US
dc.title.alternativeFemale Artsists in Modern and Contemporary Chinese Art.en_US
dc.typeบทความวารสารen_US
article.title.sourcetitleวารสารวิจิตรศิลป์en_US
article.volume4en_US
article.stream.affiliationsรองศาสตราจารย์ประจำสาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณทิตen_US
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.