Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65056
Title: นิพนธ์ต้นฉบับ : การใช้เครื่องตรวจเครื่องเสียงความถี่สูงตามแนวทาง S-I-C-C-A เพื่อการวินิจฉัย และรักษาอย่างรวดเร็วในผู้ป่วยช็อกที่ยังไม่ทราบสาเหตุในห้องฉุกเฉิน
Other Titles: The S-I-C-C-A protocol: bedside ultrasound for rapid resuscitation of non-traumatic, undifferentiated shock in Department of Emergency Medicine
Authors: ประภา บุตรต๊ะ
บริบูรณ์ เชนธนากิจ
บวร วิทยชํานาญกุล
กรองกาญจน์ สุธรรม
Authors: ประภา บุตรต๊ะ
บริบูรณ์ เชนธนากิจ
บวร วิทยชํานาญกุล
กรองกาญจน์ สุธรรม
Issue Date: 2017
Publisher: Faculty of Medicine, Chiang Mai University
Abstract: วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) ในการวินิจฉัยสาเหตุของ ภาวะช็อกและใช้ในการดูแลผู้ป่วยช็อกที่ยังไม่ทราบสาเหตุในช่วง 30 นาทีแรกที่ห้องฉุกเฉินตามแนวทาง S-I-C-C-A ซึ่งเป็นแนวทางที่ผู้วิจัยได้เสนอขึ้นใหม่ วิธีการศึกษา งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเชิงวิเคราะห์ข้อมูลแบบเก็บข้อมูลไปข้างหน้า แล้วเปรียบเทียบกับ กลุ่มข้อมูลย้อนหลัง (prospective historically-controlled study) ช่วงก่อนและหลังการใช้เครื่องตรวจ คลื่นเสียงความถี่สูง ตามแนวทาง S-I-C-C-A ในผู้ป่วยอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปที่มีภาวะช็อกและยังไม่ทราบ สาเหตุแน่ชัดที่มารับบริการในห้องฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ผลการศึกษาหลักคือความ ถูกต้องของการวินิจฉัยสาเหตุของผู้ป่วยช็อกโดยเปรียบเทียบการวินิจฉัยเบื้องต้นในห้องฉุกเฉินกับการ วินิจฉัยสุดท้าย ผลการศึกษารองคืออัตราการเสียชีวิตใน 7 วัน ระยะเวลาที่ใช้ในห้องฉุกเฉินรวมถึงข้อมูลที่ ได้ตามการตรวจแนวทางดังกล่าว ผลการศึกษา จากการศึกษาพบว่ากลุ่มที่ไม่ได้ใช้แนวทาง S-I-C-C-A (เก็บข้อมูลย้อนหลังตั้งแต่ 1 มกราคม ถึง 30 เมษายน 2556) และกลุ่มที่ใช้แนวทาง S-I-C-C-A (เก็บข้อมูลไปข้างหน้าตั้งแต่ 1 สิงหาคม ถึง 31 ตุลาคม 2556 และเก็บเพิ่มเติมในวันที่ 1 ถึง 30 พฤศจิกายน 2558) มีผู้ป่วยกลุ่มละ 54 ราย กลุ่มที่ได้ใช้ แนวทาง S-I-C-C-A ส่วนใหญ่ตรวจโดยแพทย์ประจําบ้านเวชศาสตร์ฉุกเฉิน (ร้อยละ 70.36) ใช้เวลา 10 (IQR 5-12.75) นาทีนับจากผู้ป่วยมาถึงห้องฉุกเฉิน พบว่ามีอัตราความถูกต้องในการวินิจฉัยสาเหตุของ ช็อกเพิ่มขึ้นกว่ากลุ่มที่ไม่ได้ทําตามแนวทาง S-I-C-C-A จากร้อยละ 74.07 เป็นร้อยละ 83.33 (p=0.12) และอัตราการเสียชีวิตภายใน 7 วันลดลงจากร้อยละ 27.78 เป็น 16.67 (p=0.09) สรุปผลการศึกษา การตรวจตามแนวทาง S-I-C-C-A ซึ่งมีกระบวนการเป็นลําดับขั้นตอน มีแนวโน้มช่วยให้ แพทย์สามารถวินิจฉัยผู้ป่วยช็อกที่ยังไม่ทราบสาเหตุในห้องฉุกเฉินได้อย่างถูกต้องมากขึ้นและอาจนําไปสู่ การรักษาที่รวดเร็วและเหมาะสมตั้งแต่ในช่วง 30 นาทีแรก และมีแนวโน้มว่าสามารถช่วยลดอัตราการเสีย ชีวิตของผู้ป่วยภายใน 7 วันได้
Description: Chiang Mai Medical Journal (Formerly Chiang Mai Medical Bulletin) is an official journal of the Faculty of Medicine, Chiang Mai University. It accepts original papers on clinical and experimental research that are pertinent in the biomedical sciences. The Journal is published 4 issues/year (i.e., Mar, Jun, Sep, and Dec).
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/104262/83126
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65056
ISSN: 0125-5983
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.