Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65052
Title: การศึกษารูปแบบและกำหนดอายุเวลา เจดีย์ประธาน กู่พระเจ้า และกู่กลางน้ำ วัดเกาะกลาง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน
Other Titles: The Study on the Form and Chronology of the Main Stupa, Ku Pra Chao and Ku Klang Num, of Wat Koh Klang, Pa Sang District, Lamphun Province.
Authors: เกษรา ศรีนาคา
Authors: เกษรา ศรีนาคา
Issue Date: 2556
Publisher: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: บทความนี้ได้นำเสนอประเด็นเพิ่มเติมในการศึกษารูปแบบและการกำหนดหาอายุเวลาเจดีย์ประธาน กู่พระเจ้า และกู่กลางน้ำ วัดเกาะกลาง อำเภอป่าซางจังหวัดลำพูน จากเดิมที่นักวิชาการได้วิเคราะห์และกำหนดอายุของเจดีย์ประธานวัดเกาะกลางว่ามีอายุราวพุทธศตวรรษที่ 19 สอดคล้องกับรูปแบบและสถาปัตยกรรมของเจดีย์ในล้านนาว่าได้รับอิทธิพลจากศิลปะพุกามของพม่า แต่จากการศึกษาพบว่าเจดีย์ประธานของวัดเกาะกลาง น่าจะมีอายุเวลาอยู่ในช่วงประมาณต้นพุทธศตวรรษที่ 21 มีการก่อสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ด้วยกัน 2 สมัย กล่าวคือ สมัยแรก ช่วงรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พุทธศักราช 1984 – 2030) แห่งล้านนา การก่อสร้างสมัยแรกได้รับอิทธิพลจากรูปแบบของเจดีย์เชียงยันในวัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน เจดีย์ห้ายอดที่ได้รับรูปแบบทางสถาปัตยกรรมจากเจดีย์ห้ายอดภายในบริเวณมหาโพธิมหาวิหารที่พุทธคยาในอินเดีย ต่อมาในสมัยที่ 2 ราวรัชสมัยพญายอดเชียงราย(พุทธศักราช 2030 – 2038) ได้มีการเปลี่ยนแปลงองค์ระฆังให้เป็นเจดีย์ทรงลังกาซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของคณะสงฆ์ลังกาวงศ์ การกำหนดอายุเวลาของกู่พระเจ้าน่าจะสร้างขึ้นในราวรัชสมัยพระเมืองแก้ว(พุทธศักราช 2038 – 2069) หรือประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 21 ดังพิจารณาได้จากการก่อซุ้มโค้งที่ทะลุกันทั้ง 4 ด้านเป็นลักษณะเดียวกับกู่พระเจ้าแก่นจันทน์วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) จังหวัดเชียงใหม่ สร้างขึ้นเมื่อประมาณพุทธศักราช 2053 ตามอายุเวลาที่ระบุไว้ในชินกาลมาลีปกรณ์ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระเมืองแก้ว เจดีย์กลางน้ำสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงประมาณกลางพุทธศตวรรษที่ 21 โดยพิจารณาจากลักษณะการผสมผสานกันของรูปแบบทางสถาปัตยกรรมระหว่างเจดีย์ห้ายอด ในลักษณะเดียวกับเจดีย์ประธานของวัดเกาะกลางสมัยแรกและเจดีย์เชียงยันในวัดพระธาตุหริภุญชัย กับรูปแบบก่อเรือนธาตุเป็นซุ้มโค้งมีลักษณะโปร่งทะลุทั้ง 4 ด้านใกล้เคียงกันกับกู่พระเจ้าของวัดเกาะกลางและกู่พระเจ้าแก่นจันทน์ในวัดมหาโพธาราม การสร้างกู่ที่มีน้ำล้อมรอบยังสะท้อนให้เห็นถึงคติจักรวาลในล้านนาผ่านสถาปัตยกรรม กล่าวคือ กู่เป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุที่ล้อมรอบด้วยมหานทีสีทันดร
Description: วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77631/62260
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65052
ISSN: 1906-0572
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.