Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65040
Title: สุนทรียะในบริบททางสังคม และผลปรากฏจากสภาวะแวดล้อม ของศิลปกรรมกระจกบนผนังอุโบสถ วัดมณีจันทร์ อำาเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์
Other Titles: The Study of the Aesthetic Values in the Social Context and the Appearance from Environmental Effect on the Glass-mosaic Murals on the Outer-walls of Ubosoth, Wat Maneechan, Phutthaisong District, Bureerum Province.
Authors: อัศวิณีย์ หวานจริง
Authors: อัศวิณีย์ หวานจริง
Issue Date: 2556
Publisher: คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Abstract: การศึกษาคุณค่าทางสุนทรียะในบริบททางสังคมและผลปรากฏจากสภาวะแวดล้อมของศิลปกรรมกระจกบนผนังอุโบสถ วัดมณีจันทร์ อำเภอพุทไธสงจังหวัดบุรีรัมย์ เป็นการศึกษาเพื่อค้นหาถึงบริบทที่เกิดขึ้นรวมถึงความเปลี่ยนแปลงของ สภาพแวดล้อม ความคิด ความรู้สึก และปฏิสัมพันธ์ต่างๆของคนในชุมชนที่มีต่องานศิลปะ หลังจากมีการสร้างสรรค์งาน “ศิลปกรรมกระจก” บนผนังอุโบสถ ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ความงามในรูปแบบของผลงานศิลปะที่ใช้กระจกเป็นวัสดุตกแต่งลงบนผนังภายนอกอาคาร อันก่อให้เกิดเป็นงานศิลปกรรมไทยรูปแบบใหม่ที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัวไม่ซ้ำกับที่เคยมีมา การสร้างสรรค์ศิลปกรรมกระจกครั้งนี้เป็นการทำงานศิลปะร่วมกันของศิลปิน 2 คน คือ ผู้ช่วยศาสตราจารย์อัศวิณีย์ หวานจริง และนายอุดม หวานจริง โดยแรงบันดาลใจในการสร้างงานของศิลปินเกิดจากความศรัทธาในพระศาสนาและงานศิลปกรรมของไทยในอดีต รวมทั้งได้เห็นความตั้งใจของชาวบ้านในชุมชนที่ต้องการมีงานศิลปกรรม เพื่อบันทึกภาพประเพณีวัฒนธรรมและเรื่องราวความดีงามของชุมชนแห่งนี้ที่พวกเขาภาคภูมิใจไว้ในศาสนสถานให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของทุกคนในชุมชนต่อไปจนถึงรุ่นลูกหลานที่สำคัญคือการบันทึกเรื่องราวของชุมชนลงในงานศิลปกรรมจะเป็นการแสดงคุณค่าทางสุนทรียภาพให้กับสภาพแวดล้อม และสร้างปฏิสัมพันธ์อันดีงามให้เกิดขึ้นกับผู้คนในชุมชนแห่งนี้ โดยเฉพาะการสร้างความสามัคคี ความเคารพรักในสถาบันพระมหากษัตริย์ และความศรัทธาในพระพุทธศาสนาผลปรากฏจากสภาวะแวดล้อมได้แสดงให้เห็นว่าผู้คนในท้องถิ่นเกิดความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินกิจกรรมทางสังคม หลายคนเริ่มเห็นคุณค่าของการใช้พื้นที่ภายในวัด มีกิจกรรมต่างๆ เกิดขึ้นมากมายในบริเวณวัด อุโบสถเก่าแก่ที่เคยถูกละเลยหรือมองข้าม เกิดความเปลี่ยนแปลงงดงามสะดุดตาจนสามารถดึงดูดให้ผู้คนที่ผ่านไปมาต้องแวะเข้ามาเยี่ยมชมงานศิลปกรรมกระจกภายในวัด หรือมีการบอกกล่าวต่อๆ กันไปจนต้องเดินทางมาเพื่อชื่นชมด้วยสายตาตนเอง ผู้คนในพื้นที่ตื่นตัวช่วยกันพัฒนาปรับปรุงสภาพแวดล้อมรอบอุโบสถให้สวยงามสะอาดตา มีการจัดสวนปลูกต้นไม้ตัดหญ้า ปรับปรุงพื้นที่บริเวณบ่อน้ำภายในวัด มีผู้คนเข้ามาเที่ยวชมภายในวัดมากขึ้น การปรับสภาพแวดล้อมภายในวัดมณีจันทร์ให้สวยงามได้ช่วยเสริมให้อุโบสถดูโดดเด่นสมเป็นอัญมณีแห่งศาสนสถาน ถือเป็นการสร้างสำนึกรักในสมบัติท้องถิ่นและปลูกฝังจิตสำนึกให้คนในชุมชนช่วยกันอนุรักษ์รักษาไว้ซึ่งวัฒนธรรมประเพณีและศิลปกรรมของชาติให้คงอยู่สืบต่อไปอย่างยั่งยืน
Description: วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี)
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77654/62277
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65040
ISSN: 1906-0572
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.