Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65028
Title: นิพนธ์ต้นฉบับ : เปรียบเทียบลักษณะทางชีวเคมีกับวิธี PCR amplifi cation ในการจําแนก สปีชีส์ของเชื้อ Malassezia ที่แยกได้จากผู้ป่วยโรคเกลื้อนและคนสุขภาพดี
Other Titles: Comparison of biochemical characterizations with PCR amplifi cation in identifi cation of Malassezia species isolated from pityriasis versicolor and healthy volunteers
Authors: เพราพิลาศ อินตะยศ
สิริดา ยังฉิม
Authors: เพราพิลาศ อินตะยศ
สิริดา ยังฉิม
Issue Date: 2016
Publisher: Faculty of Medicine, Chiang Mai University
Abstract: ในการศึกษาครั้งนี้ต่องการจําแนกเชื้อ Malassezia ในระดับสปีชีส์ โดยการเปรียบเทียบวิธีทางชีวเคมีกับ วิธี PCR โดยนําเชื้อ Malassezia จํานวน 173 isolates ที่แยกได้จากผู้ป่วยที่เป็นโรคเกลื้อน 8 ราย และ จากคนที่มีสุขภาพดี 165 ราย มาทําการศึกษา ผลการทดลองพบว่าเชื้อ Malassezia จํานวนร้อยละ 73.41 (127/173) นั้นให้ผลการจําแนกในระดับสปีชีส์ ที่สอดคล้องกันทั้ง 2 วิธี โดยสามารถจําแนกเชื้อ Malassezia ได้ 4 สปีชีส์ ได้แก่ M. sympodialis, M. furfur, M. dermatis และ M. slooffi ae นอกจาก นี้พบว่าร้อยละของความสอดคล้องทั้ง 2 วิธีนั้นเพิ่มสูงขึ้นในเชื้อ M. furfur และ M. sympodialis เท่ากับ ร้อยละ 81.94 และร้อยละ 77.63 ตามลําดับ ส่วนเชื้อ Malassezia จํานวนที่เหลืออีก 46 isolates นั้น พบว่าต้องใช้วิธี PCR amplifi cation เท่านั้น ในการจําแนกสปีชีส์ และได้ทําการตรวจสอบยืนยันโดยการ วิเคราะห์ลําดับนิวคลีโอไทด์ (genomic sequencing) พบเป็นเชื้อ Malassezia 6 สปีชีส์ได้แก่ M. sympodialis (ร้อยละ 36.95), M. furfur (ร้อยละ 28.26), M. dermatis (ร้อยละ 21.74), M. slooffi ae (ร้อยละ 4.35), M. globosa (ร้อยละ 4.35) และ M. japonica (ร้อยละ 4.35) จากผลการศึกษาครั้งนี้ แสดงให้เห็นว่าวิธี PCR นั้น มีศักยภาพในการจําแนกสปีชีส์ของเชื้อ Malassezia เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี ทางชีวเคมี และอย่างไรก็ตามวิธีทางชีวเคมีเหมาะที่จะใช้ป็นวิธีการทดสอบเบื้องต้นในการจําแนกสปีชีส์ของ เชื้อ Malassezia ในที่ที่ยังไม่มีวิธีทางอณูวิทยาให้ใช้
Description: Chiang Mai Medical Journal (Formerly Chiang Mai Medical Bulletin) is an official journal of the Faculty of Medicine, Chiang Mai University. It accepts original papers on clinical and experimental research that are pertinent in the biomedical sciences. The Journal is published 4 issues/year (i.e., Mar, Jun, Sep, and Dec).
URI: https://www.tci-thaijo.org/index.php/CMMJ-MedCMJ/article/view/87755/69225
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65028
ISSN: 0125-5983
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.