Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65012
Title: | ความเชื่อ วิถีชีวิตชาวเขา สู่การสร้างสรรค์ ผลงานประติมากรรมร่วมสมัย |
Other Titles: | Hill Tribes; Beliefs and Ways of Life towards the Creation of Contemporary Sculpture |
Authors: | สุนทร สุวรรณเหม |
Authors: | สุนทร สุวรรณเหม |
Issue Date: | 2555 |
Publisher: | คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ |
Abstract: | ผลงานวิจัยเรื่อง “ความเชื่อ วิถีชีวิตชาวเขา สู่การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมร่วมสมัย” เป็นการนำอัตลักษณ์เด่นทางด้านความงามระหว่างความเป็นศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่นของคนพื้นราบ กับความงามในวิถีชีวิต ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมชาวเขาแบบดั้งเดิม ที่แฝงคุณค่าปรัชญาแห่งความพอเพียงในการดำเนินชีวิตตามวัฏจักรของความเป็นตัวตนแบบบรรพบุรุษที่วางรากฐานไว้อย่างทรงคุณค่า ควรแก่การอนุรักษ์ไว้เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังซึมซับความเป็นอารยธรรมของชนเผ่า โดยการสืบทอดไว้ในสายเลือดและยากที่คนพื้นราบจะเข้าใจได้ สิ่งหลงเหลือแห่งตะกอนทางวัฒนธรรมได้บ่มเพาะต้นกล้าทางปัญญาอันบริสุทธิ์ได้แพร่หลายไปตามมุมชีวิตต่างๆ ของสังคม ไม่ว่าเป็นที่แห่งไหนก็ตามความเป็นวิถีทางรากเหง้าของตนก็ยังอยู่ ความงาม ความรัก ชีวิต เกิดขึ้นเพื่อสร้างความผสานกลมกลืนให้กับโลกได้เสมอเหล่านี้ มีนักคิดนักเขียนทั้ง หลายทั้งสายมนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ อื่นๆ นำมาเป็นแนวคิดการเริ่มต้นทำงานในสายที่เกี่ยวข้องกับตน ผู้เขียนก็เช่นเดียวกัน ได้ใช้ความรู้ทางด้านประติมากรรมหาความเป็นเอกลักษณ์ สัญลักษณ์ ทางความงามเชิงรูปแบบ รูปทรง เทคนิค วัสดุ วิธีการ ในโครงสร้างที่ได้แนวคิดข้างต้นจินตนาการสร้างสรรค์พรรณนารูปลักษณ์ในฝัน สร้างสรรค์ภาพลักษณ์อย่างมหัศจรรย์ สื่อเรื่องราวที่สะท้อนถึงจิตวิญญาณความเป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นของคนพื้นราบกับคนบนดอยได้อย่างกลมกลืนด้วยภาษาบอกความหมายในทางผลงานประติมากรรม ซึ่งแม้ว่าจะมีความซับซ้อนในเรื่องของข้อมูล รูปแบบ เทคนิคและวิธีการแล้ว ตัวโครงสร้างของผลงานยังแฝงซึ่งภูมิปัญญาชาวบ้าน ด้วยเหตุและผลที่ต้องให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้ความฉลาดของบรรพบุรุษไทยได้อย่างลึกซึ้งอย่างไรก็ตาม ผู้วิจัยนำสาระสำคัญเรื่อง “ความเชื่อ วิถีชีวิตชาวเขาสู่การสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมร่วมสมัย” ไว้ในงานวิจัยนี้ โดยข้อมูลสำคัญประเด็นที่ 1 คือ ความสำคัญและที่มาของปัญหาทำการวิจัย ประเด็นที่ 2 คือ ห้วงคำนึงความคิดสร้างสรรค์ ประเด็นที่ 3 คือ วิธีดำเนินการสร้างสรรค์ ประเด็นที่ 4 คือ วิเคราะห์การสร้างสรรค์ ประเด็นที่ 5 คือ บทสรุปของการวิจัย และยังมีงานวิจัยที่เป็นผลงานประติมากรรมในเรื่องเดียวกันนำออกไปแสดงเผยแพร่ต่อสาธารณชนตามพื้นที่ต่างๆ ของเมืองไทยและในต่างประเทศ ซึ่งถือเป็นกระบวนการหนึ่งเพื่อให้ครบองค์ความรู้ของการวิจัยในครั้งนี้ ดังประเด็นหลักสำคัญที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงเนื้อหาโดยสังเขป ในส่วนรายละเอียดของเนื้อหาผู้ที่มีความสนใจต้องลองนำไปศึกษาอ่านดู อาจได้แง่มุมความคิดจากเนื้อหา รูปแบบ รูปทรง เทคนิค วัสดุ วิธีการ ต่างๆ ในการสร้างสรรค์ผลงานประติมากรรมได้บ้างไม่มากก็น้อย |
Description: | วารสารวิจิตรศิลป์ ตีพิมพ์บทความวิจัยหรือบทความงานสร้างสรรค์ทางด้านศิลปกรรม และบทความวิชาการทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ เป็นบทความที่เสนอองค์ความรู้ แนวคิด วิธีการ และกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาต่างๆ ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์ (การวิจัยงานศิลปะ การออกแบบ ประยุกต์ศิลป์ ดนตรี การแสดง สื่อศิลปะ ปรัชญาศิลป์ สุนทรียศาสตร์ ประวัติศาสตร์ศิลปะ และโบราณคดี) |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/fineartsJournal/article/view/77676/62298 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/65012 |
ISSN: | 1906-0572 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.