Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64893
Title: | จาก ‘เฮฟวี่’ ถึง ‘เมทัล’: นักดนตรี เฮฟวี่เมทัลไทยจาก ‘วัยรุ่นมืออาชีพ’ สู่ ‘ผู้ใหญ่มือสมัครเล่น’, 1970-2010 |
Authors: | อธิป จิตตฤกษ์ |
Authors: | อธิป จิตตฤกษ์ |
Issue Date: | 2553 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์ |
Abstract: | บทความชิ้นนี้มุ่งจะพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของเงื่อนไขทาง เศรษฐกิจในการผลิตดนตรีเฮฟวี่เมทัลในประเทศไทยซึ่งแตกต่างกันไปใน แต่ละช่วงเวลา ภายหลังจากดนตรีเฮฟวี่เมทัลเข้ามาในประเทศไทยเป็น ครั้งแรกพร้อมกับทหารอเมริกันตอนต้นทศวรรษที่ 1970 มันก็ได้สร้างนัก ดนตรีเฮฟวี่เมทัล (หรือนักดนตรีอันเดอร์กราวด์) รุ่นแรกของไทยขึ้นมา นักดนตรีรุ่นแรกนี้เป็นนักดนตรีอาชีพที่หาเลี้ยงชีพด้วยการเล่นดนตรีเฮฟวี่ เมทัลในแบบที่เหมือนแผ่นเสียงที่สุดตามผับในบริเวณค่ายทหารในต่าง จังหวัดเพื่อที่จะทำาให้ทหารอเมริกันซึ่งเป็นลูกค้าพึงพอใจ ด้วยความนิยม ของดนตรีเฮฟวี่เมทัลที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยหลายๆ อย่างในทศวรรษที่ 1980 นักดนตรีเฮฟวี่เมทัลหรือ “เฮฟวี่” ได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรม ดนตรีของไทยที่เกิดขึ้นมาใหม่ (แม้จะเป็นแค่ที่ชายขอบก็ตาม) ช่วงกลาง ทศวรรษที่ 1990 อาชีพนักดนตรีเฮฟวี่เมทัลแบบในยุคก่อนเริ่มสูญหายไป เนื่องจากความนิยมของดนตรีเฮฟวี่เมทัลในไทย (และในสหรัฐอเมริกา) เริ่ม ถดถอยลง อย่างไรก็ดีในช่วงเวลาเดียวกันนักดนตรีเฮฟวี่เมทัลในรูปแบบ ที่หนัก (ซึ่งมักเรียกรวมๆ ว่า อันเดอร์กราวด์เมทัล เอกซ์ตรีมเมทัล หรือ “เมทัล” เฉยๆ) กว่าก็ค่อยๆ ก่อตัวขึ้นมาและออกผลงานดนตรีของตัวเอง กันออกมาและจัดงานแสดงดนตรีกันเอง ในตอนต้นทศวรรษที่ 2000 นัก ดนตรีพวกนี้ส่วนหนึ่งก็ได้เซ็นสัญญากับค่ายเพลงใหญ่ๆ ในไทย อย่างไร ก็ดีภายใต้แรงกดดันทางเศรษฐกิจผลงานที่พวกเขาออกมาก็เป็นดนตรีเฮฟ วี่เมทัลที่เบาลง หรือ กระทั่งดนตรีที่ไม่ใช่เฮฟวี่เมทัลด้วยซ้ำไป นอกจากนี้ในช่วงเวลาเดียวกันก็ไม่มีผับแห่งใดที่จะจ้างนักดนตรีเฮฟวี่เมทัลเล่นประจำา กล่าวคือการเล่นดนตรีเฮฟวี่เมทัลไม่สามารถจะเป็นอาชีพได้ ในช่วงปลาย ทศวรรษที่ 2000 นักดนตรีเฮฟวี่เมทัลทวีจำานวนขึ้นอย่างมหาศาลแต่แทบ จะไม่เหลือนักดนตรีเฮฟวี่เมทัลที่เป็นนักดนตรีอาชีพเลยในภาพรวม นัก ดนตรีเฮฟวี่เมทัลส่วนใหญ่จะเป็นนักดนตรีมือสมัครเล่นซึ่งเป็นคนในวัย ทำางานและนักศึกษาระดับอุดมศึกษาที่พยายามจะนำาเสนอบทเพลงของ ตัวเองโดยไม่สังกัดค่ายเพลงใดๆ ผ่านทางช่องทางเก่าๆ อย่างการผลิต CD มาขายเอง และช่องทางใหม่ๆ ในการเผยแพร่อย่างเว็บไซต์เครือข่าย สังคมต่างๆ ในอินเตอร์เน็ต ซึ่งกิจกรรมเหล่านี้เป็นไปได้เพราะการพัฒนา ของสถาบันทางเศรษฐกิจศิลปวัฒนธรรมดนตรีใต้ดิน และพัฒนาการทาง เทคโนโลยีต่างๆ ทำาให้การผลิตและเผยแพร่ดนตรีโดยปัจเจกบุคคลที่ไม่ได้ มีทุนทรัพย์มากเป็นไปได้ว่ายุคสมัยก่อนมาก |
Description: | วารสารสังคมศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 โดยการทำงานร่วมกันของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นกองบรรณาธิการ |
URI: | http://journal.soc.cmu.ac.th/issue_upload/76900%201446774908.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64893 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.