Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64880
Title: | การค้าของรัฐดินแดนตอนใน: ตรวจสอบความคิดเรื่องรัฐจารีต และความสำาคัญของการค้า |
Other Titles: | Trade in the Hinterland of Peninsula Southeast Asia: Examining the Idea of Pre-modern State and Trade Emphasis |
Authors: | วราภรณ์ เรืองศรี |
Authors: | วราภรณ์ เรืองศรี |
Issue Date: | 2552 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์ |
Abstract: | บทความเรื่องนี้ต้องการตรวจสอบประเด็นสำาคัญ 4 เรื่อง คือ (1) การทำาความเข้าใจเกี่ยวกับมโนทศัน์ว่าด้วยรัฐก่อนสมยัใหม่ (Pre-modern State) (2) ข้อสังเกตในเชิงมโนทัศน์ผ่านการศึกษาเรื่องคาราวานการ ค้าของรัฐดินแดนตอนใน (3) บริบทของการปรับเปลี่ยนเข้าสู่การเป็น รัฐสมัยใหม่ของสยามและการผนวกดินแดนประเทศราช ซึ่งนำาไปสู่ตัว แสดง (Actors) ใหม่ๆ ในอาณาบริเวณที่ถูกผนวกรวมเหล่านี้ และ (4) กลับไปตรวจสอบความคิดว่าด้วยรัฐก่อนสมัยใหม่ผ่านมิติทางการค้า การที่ผู้ศึกษาเลือกนำาเสนอผ่านสี่ประเด็นนี้น่าจะนำาไปสู่การสร้าง ความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐก่อนสมัยใหม่ในมิติที่ต่างออกไป กล่าวคือการค้าไม่เพียงเป็นเรื่องที่สัมพันธ์กับคนทุกกลุ่ม ทุกชั้น เพศ วัย แต่ ยังเป็นเงื่อนไขในการอธิบายกระบวนการก่อรูปและการดำารงอยู่ของรัฐ จารีต ทั้งนี้เพราะการอธิบายผ่านความสัมพันธ์ในเชิงโครงสร้างเพียง อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ จำาเป็นต้องหาแนวทางการอธิบายรูปแบบ อื่นที่สัมพันธ์กับชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนอย่างลึกซึ้ง การคา้ของรฐัดนิแดนตอนในมปีจัจยัภายในทสี่าำคญัเกยี่วกบัเงอื่นไข ทางกายภาพ โดยทั่วไป ข้อจำากัดในเรื่องดังกล่าวถูกอธิบายไปในทางที่ ว่าการคมนาคมที่ยากลำาบากทำาให้การขยายตัวทางการค้าเป็นเรื่องที่เป็น ไปได้ยาก ทั้งการนำาสินค้ามาสู่ตลาดและการเข้าถึงสินค้าในส่วนของผู้ บริโภค เงื่อนไขทางกายภาพดังกล่าวยังถูกนำาไปสัมพันธ์กับการเกิดรัฐ และการขยายอำานาจ การรวมอำานาจรัฐ ประเด็นที่น่าสนใจคือ ข้อจำากัด ทั้งเรื่องการค้าและการเกิดรัฐที่สัมพันธ์กับปัจจัยทางกายภาพไม่เคยถูก ตั้งคำาถามว่า ภายใต้ข้อจำากัดดังกล่าวรัฐดินแดนตอนในหรือรวมถึงกลุ่ม คนในอาณาบริเวณแถบนี้ได้พัฒนากลไกการจัดการความสัมพันธ์แบบ อื่นขึ้นมาใช้หรือไม่ อย่างไร ซึ่งหากขยายความออกไป กลไกดังกล่าว อาจมีส่วนในการลดข้อจำากัดในข้างต้นและสามารถนำาไปสู่การอธิบาย รูปแบบของการขยายตัวของผู้คน เมือง และรัฐได้ การตรวจสอบความคดิในบทความชนิ้นจี้งึจาำเปน็ตอ้งศกึษาประเดน็ เรื่องการค้าที่ก้าวพ้นจากมิติทางเศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวและหันมา พิจารณาเชื่อมโยงกับมิติทางสังคม วัฒนธรรม และการเมืองไปด้วย พร้อมกัน ด้วยเหตุนี้ การศึกษาเค้าร่างความเปลี่ยนแปลงของรัฐก่อน สมัยใหม่หรือรัฐแบบจารีตไปสู่การก่อตัวของรัฐสมัยใหม่ในช่วงปลาย พุทธศตวรรษที่ 25 ผ่านสมมติฐานในข้างต้นนั้น แท้จริงก็คือการหัน กลับมาพิจารณามโนทัศน์ว่าด้วยรัฐก่อนสมัยใหม่อีกครั้งเพื่อเป็นฐาน คำาอธิบายความเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ต่างไปจากมโนทัศน์เดิมๆ นั่นเอง |
Description: | วารสารสังคมศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 โดยการทำงานร่วมกันของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นกองบรรณาธิการ |
URI: | http://journal.soc.cmu.ac.th/issue_upload/29900%201447040217.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64880 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.