Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64871
Title: พลวัตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ในบริเวณเมืองเชียงใหม่ และ การคาดการณ์ความเป็นเมืองใน อนาคตด้วย SLEUTH Model
Other Titles: Dynamics of Land-Cover/Land-Use in the Chiang Mai Area and Prediction of Urbanization Using the SLEUTH Model
Authors: สมพร สง่าวงศ์
Authors: สมพร สง่าวงศ์
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์
Abstract: การขยายตัวของเมืองเชียงใหม่อย่างรวดเร็วเป็นสาเหตุสำาคัญที่ ทำาให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการใช้ประโยชน์ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดิน การเจริญ เติบโตทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาเส้นทางการคมนาคมขนส่ง และ การเพิ่มขึ้นของจำานวนประชากร เป็นปัจจัยเร่งที่ทำาให้มีการเปลี่ยนแปลง การใช้ประโยชน์ที่ดินที่ทำาให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมเป็นอย่างมาก บทความนี้ได้ประยุกต์ใช้ข้อมูลการสำารวจจาก ระยะไกล ได้แก่ข้อมูลดาวเทียมสำารวจแผ่นดิน (LANDSAT) ระบบ TM (พ.ศ. 2532, 2549 และ 2552 ) และระบบ ETM+ (พ.ศ. 2543) ซึ่งนำมาปรับแก้ความคลาดเคลื่อนก่อนการวิเคราะห์ ผลจากการวิเคราะห์ ข้อมูลดาวเทียมในบริเวณพื้นที่ศึกษาจำานวน 4 ช่วงเวลา แบ่ง ออก ได้ 5 ประเภทใหญ่ ดังนี้ (1) พื้นที่เกษตร (2) ป่าไม้ (3) พื้นที่อื่นๆ (4) เมือง/สิ่งปลูกสร้าง และ (5) แหล่งนำ้า ซึ่งพบว่ามีการเปลี่ยนแปลงเกิด ขึ้นทุกประเภทตามช่วงเวลา โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่เมืองมีการขยาย ตัวเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ และจากการจำาลองการขยายตัวของพื้นที่เมือง (พ.ศ. 2550 ถึง พ.ศ. 2559) โดยใช้แบบจำาลอง SLEUTH พบว่าพื้นที่เมืองมี ความหนาแนน่สงูขึน้และมขีนาดเพิม่ขึน้ ซึง่สามารถวดัดว้ยคา่ดชันคีวาม หนาแน่นของพื้นที่เมือง (path density index) ดัชนีความใกล้เคียงยูคลิด (euclidean nearest neighbor index) และดัชนีรูปร่าง (shape index) สามารถสรุปได้ว่าการขยายตัวของพื้นที่เมืองเชียงใหม่มีลักษณะเป็น แบบพอกพูนไปตามขอบเมืองและเกาะกลุ่มตามเส้นทางคมนาคม หน่วย งานที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดิน สามารถนำา เอาผลที่ได้จากการศึกษามาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในการศึกษาเกี่ยวกับ รูปแบบของพื้นที่เมืองและประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน/สิ่งปกคลุมดิน ที่เกิดขึ้นจากการขยายตัวของพื้นที่เมืองร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ได้
Description: วารสารสังคมศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 โดยการทำงานร่วมกันของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นกองบรรณาธิการ
URI: http://journal.soc.cmu.ac.th/issue_upload/27800%201446617388.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64871
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.