Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64837
Title: จากชาร์ปถึงคายส์: เส้นทางของกระบวนทัศน์วิธีวิทยาศึกษาสังคมไทย
Other Titles: From Sharp to Keyes: The Trajectory of a Methodological Paradigm in Thai Studies
Authors: พัฒนา กิติอาษา
สุริยา สมุทคุปติ์
Authors: พัฒนา กิติอาษา
สุริยา สมุทคุปติ์
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสังคมศาสตร์
Abstract: ในบทความนี้1 พวกเราพิจารณาเส้นทางของกระบวนทัศน์วิธีวิทยา (me-thodological paradigm) ในวงวิชาการไทยศึกษาชุดหนึ่งผ่านตัวอย่างข้อเขียนของศาสตรา จารย์ชาร์ลส์ คายส์ พวกเราใช้แนวคิดเรื่องกระบวนทัศน์ ซึ่งนำ เสนอโดยโธมัส คูห์น (1962) เพื่อแสดงให้เห็นว่านักเรียนมานุษยวิทยาอเมริกันท่านหนึ่งเติบโตในถนนสาย วิชาการและผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางอัตลักษณ์ภายใต้กรอบกระบวนทัศน์ หรือธรรมเนียมวิชาการชุดหนึ่งได้อย่างไร พวกเราค้นคว้าและอ่านข้อเขียนวิชาการ ด้านไทยศึกษาและเอเชียอาคเนย์ศึกษาของอาจารย์คายส์ตลอดวิชาชีพของท่าน พร้อมกับนำ เสนอว่ากระบวนทัศน์วิธีวิทยาของอาจารย์คายส์ แท้ที่จริงก็คือ สาย สัมพันธ์พิเศษระหว่างอาจารย์กับลูกศิษย์ อาจารย์คายส์คือผู้สืบทอดและพัฒนา กระบวนทัศน์วิธีวิทยาแห่งสำ นักมหาวิทยาลัยคอร์แนลต่อจากอาจารย์คนสำ คัญของ ท่าน ซึ่งได้แก่ ศาสตราจารย์ลอริสตัน ชาร์ป พวกเราเรียกกระบวนทัศน์ดังกล่าวว่า “กระบวนทัศน์วิธีวิทยาจากชาร์ปถึงคายส์” หัวใจหลักของกระบวนทัศน์ดังกล่าวก็คือ การให้ความสำ คัญกับความเป็นมนุษย์ เน้นการศึกษาวิจัยกระบวนการเปลี่ยนแปลง ไปสู่ภาวะความทันสมัยและการสร้างชาติ รวมทั้งผลกระทบต่างๆ ของกระบวนการ ดังกล่าว เน้นรอยแยกหรือจุดหักเหของประวัติศาสตร์ เน้นความสำ คัญของการเชื่อม โยงชุมชนท้องถิ่นขนาดเล็กเข้ากับรัฐ ภูมิภาคและระบบเศรษฐกิจการเมืองของโลก ที่สำ คัญ กระบวนทัศน์วิธีวิทยาจากชาร์ปถึงคายส์เน้นความสำ คัญของการวิเคราะห์ ตีความหมายที่ลุ่มลึกและละเอียดอ่อนของการเปลี่ยนแปลง พวกเรานำ เสนอด้วยว่า กระบวนทัศน์วิธีวิทยาจากชาร์ปถึงคายส์มีความ โดดเด่นเป็นพิเศษในการอธิบายและทำ ความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงไปสู่ภาวะความ ทันสมัย รวมทั้งผลกระทบด้านต่างๆ ที่เกิดขึ้นผ่านสภาพวิกฤติการณ์ทางวัฒนธรรม หรือรอยแยกที่เป็นจุดหักเหของประวัติศาสตร์ กระบวนทัศน์วิธีวิทยาดังกล่าวเน้น ความหนักแน่นและละเอียดอ่อนของการใช้ข้อมูลหลักฐานทางชาติพันธ์ุวรรณนา ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ ควบคู่ไปกับการอ้างอิงแนวคิดทางทฤษฎีที่เน้นความสำ คัญ ของมนุษย์และคุณค่าทางวัฒนธรรม กระบวนทัศน์วิธีวิทยาจากชาร์ปถึงคายส์ช่วย แก้ข้อด้อยของแนวการศึกษาแบบวิวัฒนาการนิยม หน้าที่นิยม และโครงสร้างนิยม แต่ไม่ได้ก้าวหน้าไปถึงขั้นนำ เสนอทางเลือกทางออกในการแก้ปัญหาทางเศรษฐกิจ การเมืองที่เกิดขึ้น พลังของกระบวนทัศน์นี้อยู่ที่การตีความทางทฤษฎีที่ลุ่มลึกและ ละเอียดอ่อน รวมทั้งการให้คำ อธิบายปรากฏการณ์ด้วยฐานข้อมูลที่หนักแน่น เป้า หมายทางการเมืองของกระบวนทัศน์วิธีวิทยานี้อยู่ที่การรื้อถอนอคติวิชาการตะวัน ตก (โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา) โดยการนำ เสนอมุมมองและวิธีคิดของคนในและนัก วิชาการในภูมิภาคขึ้นมาเทียบเคียง เพื่อให้องค์ความรู้มานุษยวิทยาและอุษาคเนย์ ศึกษาเกิดการสนทนาตอบโต้และวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งกันและกันมากยิ่งขึ้น
Description: วารสารสังคมศาสตร์ เป็นวารสารวิชาการของคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินการมานับตั้งแต่ปีพ.ศ.2513 โดยการทำงานร่วมกันของคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมีอาจารย์จากภาควิชาต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยทำหน้าที่เป็นกองบรรณาธิการ
URI: http://journal.soc.cmu.ac.th/issue_upload/62600%201445929021.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64837
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.