Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64629
Title: การพัฒนาดัชนีชี้วัดการดำเนินงานของโรงงานในกลุ่ม อุตสาหกรรมส่งออก โดยเชื่อมโยงรางวัลคุณภาพกับ ดัชนีดุลยภาพ
Other Titles: The Development of Performance Indices for Export Industries by Using Balanced Scorecard and Quality Awards
Authors: ไพโรจน์ ยอดคำปา
วิมลิน สุขถมยา
Authors: ไพโรจน์ ยอดคำปา
วิมลิน สุขถมยา
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วารสารวิศวกรรมศาสตร์
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างดัชนีชี้วัดการดำเนินงานที่เหมาะสมสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม โดยใช้เกณฑ์จากรางวัลคุณภาพ ได้แก่ The Malcolm Baldrige National Quality Award (MBNQA), The Demming Application Prizeและ The European Foundation for Quality Management (EFQM) ซึ่งรางวัลคุณภาพทั้ง 3 อย่าง มีเกณฑ์การวัดที่ชัดเจน และเน้นให้ความสำคัญต่อการดำเนินงานในองค์กรที่คล้ายคลึงกันและต่างกันในบ้างข้อ จึงได้รวมเกณฑ์รางวัลคุณภาพทั้ง 3อย่าง แยกเป็นหมวดหมู่ให้สอดคล้องกับการวัดตามมุมมอง 4 ด้านตามดัชนีดุลยภาพ (Balanced Scorecard) โดยดัชนีชี้วัดที่ได้พัฒนาขึ้นมีทั้งสิ้น 63 ดัชนี แยกเป็นมุมมองด้านการเงินจำนวน 14 ดัชนีด้านลูกค้าจำนวน 13 ดัชนี ด้านกระบวนการภายในจำนวน 18 ดัชนี และด้านการเรียนรู้และพัฒนาจำนวน 18 ดัชนีวิธีการดำเนินการศึกษาได้รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยเลือกจากอุตสาหกรรมส่งออกที่มีมูลค่าการส่งออกมากเป็นอันดับต้นๆ ของไทย ได้แก่ อุตสาหกรรมผักและผลไม้แปรรูปอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ผลการวิจัยพบว่ามีความชัดเจนขึ้น สามารถปรับปรุงไปใช้ในการประเมิการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมทั้งสี่ประเภทนี้ได้ และดัชนีชี้วัดการดำเนินงานที่พัฒนาขึ้นจะเป็นตัววัดการดำเนินงานของโรงงานอุตสาหกรรมได้ว่าอยู่ในระดับใดอุตสาหกรรมทั้งสี่ประเภทนี้เน้นให้ความสำคัญด้านการเงิน และกระบวนการภายในองค์กรอย่างมาก โดยอุตสาหกรรมผักและผลไม้แปรรูป และอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับให้ความสำคัญด้านการเงินมากที่สุด ส่วนอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ให้ความสำคัญด้านกระบวนการภายในมากที่สุดในการวิเคราะห์ปัจจัย สามารถแบ่งปัจจัยด้านการเงินได้ 4 ปัจจัยคือ กำไรสุทธิ ต้นทุนและกำไรต่อยอดขายยอดขายสินค้าและมูลค่าสูญเสีย และต้นทุนการผลิตและการดำเนินงาน ปัจจัยด้านลูกค้าแบ่งได้เป็น 4 ปัจจัยคือ การสร้างภาพลักษณ์แก่องค์กร การแก้ไขข้อร้องเรียนของลูกค้า ส่วนแบ่งในการขายสินค้า และความพึงพอใจของลูกค้าและความใส่ใจด้านสิ่งแวดล้อม ปัจจัยด้านกระบวนการภายในแบ่งได้เป็น 5 ปัจจัยคือ การจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการผลิต การจัดการด้านคุณภาพสินค้า การจัดการด้านวัตถุดิบและการส่งมอบสินค้า และค่าใช้จ่ายด้านพลังงานและความปลอดภัยในการทำงาน ปัจจัยด้านการเรียนรู้และพัฒนาแบ่งได้เป็น 4 ปัจจัยคือ การอบรมพนักงาน วิสัยทัศน์ กลยุทธ์และการวางแผน ความพึงพอใจของพนักงาน และการพัฒนาสินค้าใหม่ การแบ่งปัจจัยดังกล่าวจะช่วยให้การประเมินการดำเนินงาน
Description: วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (Engineering Journal Chiang Mai University) เป็นวารสารที่ตีพิมพ์บทความวิชาการในลักษณะบทความวิจัย และบทความปริทัศน์ที่มีคุณภาพสูง ทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมถึงสาขาอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีเนื้อหาที่เป็นองค์ความรู้พื้นฐานจนกระทั่งการนำไปใช้ประโยชน์ ทั้งในแง่ทฤษฎี การวางแผน การทดลอง การออกแบบ หรือการพัฒนาอุปกรณ์และการจำลองการทำงานของระบบ หรือกระบวนการต่างๆ เป็นต้น โดยเปิดรับบทความวิชาการทางสาขาวิศวกรรมศาสตร์ ตลอดทั้งปี
URI: http://e-faclib.lib.cmu.ac.th/e-faclib/data/eng/2009/4/22/4%E4%BE%E2%C3%A8%B9%EC.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64629
ISSN: 0857-2178
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.