Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64582
Title: | ขนาดเสาโดยประมาณสำหรับการออกแบบอาคารอยู่อาศัยรวมในเมืองเชียงใหม่เพื่อต้านทางแผ่นดินไหว |
Other Titles: | Approximated Column Size for Residential Building Design in Chiang Mai City to Withstand Earthquakes |
Authors: | อาลิตา ฉลาดดี ศรษฐพงศ์ เศรษฐบุปผา |
Authors: | อาลิตา ฉลาดดี ศรษฐพงศ์ เศรษฐบุปผา |
Issue Date: | 2014 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ |
Abstract: | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาว่า สถาปนิกควรต้องมีแนวทางอย่างไร ในการออกแบบอาคารอยู่อาศัยรวมในเมืองเชียงให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหวได้ งานวิจัยนี้ได้ทำการวิเคราะห์หาความต้องการทางโครงสร้างสำหรับอาคารอยู่อาศัยรวมโดยวิธีแรงสถิตเทียบเท่าเนื่องจากอาคารอยู่อาศัยรวมเกือบร้อยละ 80 ในเมืองเชียงใหม่มีรูปทรงเป็นกล่องสี่เหลี่ยมง่ายๆ และไม่มีลักษณะทางโครงสร้างที่ผิดปกติ โดยทำการศึกษากับอาคารอยู่อาศัยรวมที่มีความสูง 3-8 ชั้น มีโครงสร้างหลักเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก จากการวิเคราะห์พบว่า ในการออกแบบอาคารอยู่อาศัยรวมในเมืองเชียงใหม่ซึ่งมีความเสี่ยงต่อแผ่นดินไหวในระดับปานกลางนั้น สถาปนิกควรตระหนักว่าเสาอาคารจะต้องมีขนาดใหญ่กว่าปกติเล็กน้อย เมื่อเทียบกับการออกแบบในพื้นที่ที่ไม่มีแผ่นดินไหว จะทำให้เสามีความแข็งพอที่จะจำกัดการโยกของอาคารได้ในทุกทิศทาง ซึ่งขนาดของเสาที่เหมาะสมนั้น จะช่วยให้วิศวกรออกแบบให้เสาสามารถมีกำลังรับแรงเฉือนและแรงดัดในเสาได้โดยไม่จำเป็นต้องมีผนังรับแรงเฉือนก็ได้ ในกรณีที่เสาถูกออกแบบให้มีขนาดเล็กเกินไปเท่านั้น ที่จำเป็นต้องใช้ผนังรับแรงเฉือนเข้ามาช่วยการออกแบบให้อาคารพักอาศัยมีเสามีจำนวนมากแต่มีขนาดหน้าตัดค่อนข้างเล็ก จะทำให้จำกัดระยะการโยกของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหวได้ไม่ดีเท่าการออกแบบให้เสามีจำนวนน้อยกว่าแต่มีขนาดหน้าตัดใหญ่กว่า ดังนั้น ด้วยเหตุที่ห้องพักในอาคารพักอาศัยรวมมักจะมีความกว้างประมาณ 3-4 เมตร สถาปนิกควรวางตำแหน่งของเสาในลักษณะผนังเว้นผนัง หมายความว่า แนวเสาควรห่างกันประมาณ 6-8 เมตร จะทำให้ได้เสาที่ใหญ่พอที่จะจำกัดการโยกตัวของอาคารจากแผ่นดินไหวได้ดี |
Description: | วารสารวิชาการ การออกแบบสภาพแวดล้อม เป็นวารสาร เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ใหม่ๆในสาขาที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและการออกแบบสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อม เป็นการเปิดพื้นที่ใหม่ในการเสนอผลงานทางวิชาการให้แก่ ผู้สนใจ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษาและบุคคลทั่วไป อันจะเป็นการเสริมความเข้มแข็งแก่วงวิชาการและวิชาชีพทางสถาปัตยกรรมต่อไป วารสารวิชาการการออกแบบสิ่งแวดล้อมเริ่มต้นเผยแพร่เมื่อ พ.ศ.2557 ออกปีละฉบับมาจนถึงปัจจุบัน |
URI: | https://www.tci-thaijo.org/index.php/jed/article/view/68321/63017 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64582 |
ISSN: | 2351-0935 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.