Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64493
Title: ผลของยูเรียและแคลเซียมซัลเฟตต่อการเจริญเติบโตของเรพซีด ที่ปลูกในภาคเหนือของประเทศไทย
Other Titles: Effects of Urea and Calcium Sulphate on Growth and Development of Rapeseed (Brassica napus L.) Grown in Northern Thailand
Authors: ภรณ์พรรณ วงศ์สถาน
ชูชาติ สันธทรัพย์
ดรุณี นาพรหม
Authors: ภรณ์พรรณ วงศ์สถาน
ชูชาติ สันธทรัพย์
ดรุณี นาพรหม
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Abstract: การศึกษาผลของยูเรียและแคลเซียมซัลเฟตต่อการเจริญเติบโตรวมถึงคุณภาพและปริมาณผลผลิตของเรพซีดพันธุ์ Rapool Comfort ทำการทดลอง ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่วิน อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ระดับความสูง 1,300 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง วางแผนการทดลองแบบสุ่มในบล็อกสมบูรณ์ (RCBD) ทำการทดลอง 3 บล็อก และให้ปุ๋ย 5 กรรมวิธีได้แก่ ควบคุม (ไม่ใส่ปุ๋ย) ยูเรีย 21 กก./ไร่ ยูเรีย 42 กก./ไร่ แคลเซียมซัลเฟต 17 กก./ไร่ และ แคลเซียมซัลเฟต 35 กก./ไร่ โดยแบ่งให้ปุ๋ย 2 ครั้งในช่วงการเจริญเติบโต คือ ครั้งที่ 1 ให้ปุ๋ยร้อยละ 40 ของแต่ละกรรมวิธีในระยะการยืดตัวของลำต้น และครั้งที่ 2 ให้ปุ๋ยร้อยละ 60 ของแต่ละกรรมวิธีในระยะการแทงช่อดอก ผลการศึกษาพบว่าการให้ปุ๋ยยูเรียทั้ง 2 อัตรา และปุ๋ยแคลเซียมซัลเฟต 17 กก./ไร่ มีความสูงของต้นระหว่าง 44.87-48.97 เซนติเมตร ในสัปดาห์ที่ 18 หลังย้ายปลูก ซึ่งไม่แตกต่างจากกรรมวิธีควบคุม แต่มากกว่ากรรมวิธีที่ให้ปุ๋ยแคลเซียมซัลเฟต 35 กก./ไร่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ความสูงของต้นที่ 38.30 เซนติเมตร ในขณะที่จำนวนใบ และจำนวนต้นที่ออกดอกไม่มีความแตกต่างกันในทุกกรรมวิธี การให้ปุ๋ยแคลเซียมซัลเฟต 17 กก./ไร่ ที่ให้จำนวนดอกน้อยกว่ากรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่กรรมวิธีอื่นไม่มีความแตกต่างกัน การให้ปุ๋ยยูเรีย 42 กก./ไร่ ทำให้มีการติดฝักน้อยกว่ากรรมวิธีอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การใส่ปุ๋ยแคลเซียมซัลเฟต 35 กก./ไร่ ทำให้การติดฝัก จำนวนเมล็ด และผลผลิตเพิ่มขึ้น อีกทั้งยังให้ปริมาณน้ำมันมากกว่ากรรมวิธีควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ องค์ประกอบของน้ำมันเรพซีดพันธุ์ Rapool Comfort ประกอบด้วยกรดไขมัน 5 ชนิด ได้แก่ โอเลอิก (omega 9) ร้อยละ 62.60 ลิโนเลอิก (omega 6) ร้อยละ 19.48 ลิโนเลนิก (omega 3) ร้อยละ 8.04 ปาล์มิติก ร้อยละ 5.15 สเตียริก ร้อยละ 3.22 และกรดไขมันอื่น ๆ ร้อยละ 1.51
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00135_C01031.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64493
ISSN: 0857-0842
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.