Please use this identifier to cite or link to this item: http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64472
Title: การผลิตกรดฟอร์มิกจากตัวแทนเศษอาหารภายใต้สภาวะหม้อนึ่งอัดไอ
Other Titles: Prodution of Formic Acid from Representative Food Waste Under Autoclave Conditions
Authors: รัตนา ม่วงรัตน์
Authors: รัตนา ม่วงรัตน์
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ
Abstract: ตัวแทนเศษอาหารที่ประกอบด้วยข้าวสุก เนื้อหมูสันนอกสไลด์ และน้ำมันพืชในปริมาณอย่างละร้อยละ 33.33 โดยน้ำหนัก เมื่อได้รับความร้อนภายใต้สภาวะหม้อนึ่งอัดไอ (121 องศาเซลเซียส และ 101.3 กิโลปาสคาล) สามารถผลิตกรดฟอร์มิก (formic acid) ขณะที่กรดอะซิติก (acetic acid) ไม่สามารถตรวจพบได้ ทั้ง H2O2 และ NaOH สามารถช่วยย่อยสลายตัวแทนเศษอาหารไปเป็นกรดฟอร์มิกได้ โดยเมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ H2O2 ปริมาณกรดฟอร์-มิกที่ย่อยสลายได้มีค่าเพิ่มมากขึ้น แต่เมื่อความเข้มข้นเพิ่มสูงกว่าร้อยละ 0.09 โดยน้ำหนัก พบว่าปริมาณกรดฟอร์มิก ลดลง เนื่องจากปริมาณ H2O2 ที่มากขึ้นสามารถย่อยสลายสารประกอบเช่น กรดฟอร์มิกไปเป็นก๊าซ CO2 หรือ CO มากขึ้นส่งผลให้ปริมาณกรดฟอร์มิกลดลงได้ NaOH สามารถเร่งการย่อยสลายตัวแทนเศษอาหารได้มากกว่า H2O2 เมื่อเพิ่มความเข้มข้นของ NaOH ปริมาณกรดฟอร์มิกที่ย่อยสลายได้มีค่าเพิ่มมากขึ้นแต่เมื่อความเข้มข้นของ NaOH สูงกว่า 0.5 M พบว่าปริมาณกรดฟอร์มิกลดลง เนื่องจาก NaOH สามารถทาปฏิกิริยากับกรดอะมิโนและไขมันได้เป็นเกลือของกรดอะมิโนและสบู่ผ่านปฏิกิริยา neutralization และปฏิกิริยาสปอนิฟิเคชั่น (saponification) ตามลำดับ ซึ่งส่งผลให้เกิดการสูญเสียปริมาณ NaOH เพื่อนำไปย่อยสลายตัวแทนเศษอาหาร ปริมาณกรดฟอร์มิกที่ได้จึงลดลง เมื่อเวลาในการย่อยสลายตัวแทนเศษอาหารภายใต้สภาวะหม้อนึ่งอัดไอนานขึ้น ปริมาณกรด ฟอร์มิกที่ได้มากขึ้น โดยการใช้ NaOH สามารถผลิตกรดฟอร์มิกได้มากกว่าการใช้ H2O2 หรือการใช้ร่วมกันระหว่าง NaOH และ H2O2 ตามลำดับ กลไกสำคัญของปฏิกิริยาเคมีสำหรับการผลิตกรดฟอร์มิก เมื่อใช้ NaOH ร่วมกับ H2O2 ภายใต้สภาวะหม้อนึ่งอัดไอ (121 องศาเซลเซียส และ 101.3 กิโลปาสคาล) ต้องมีการศึกษาต่อไป
Description: วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
URI: http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00134_C01023.pdf
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64472
ISSN: 0857-0842
Appears in Collections:CMUL: Journal Articles

Files in This Item:
There are no files associated with this item.


Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.