Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64450
Title: | ผลของสารฆ่าราบางชนิดต่อการยับยั้งการเจริญของเชื้อ Colletotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคหอมเลื้อย |
Other Titles: | Effects of some Fungicides on Growth Inhibition of Colletotrichum gloeosporioides, Causal Agent of Onion Twister Disease |
Authors: | จรรยาภรณ์ ภูคัง พรสุข ชัยสุข |
Authors: | จรรยาภรณ์ ภูคัง พรสุข ชัยสุข |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
Abstract: | จากการเก็บตัวอย่างโรคหอมเลื้อยของหอมแดง และหอมหัวใหญ่ จากพื้นที่เพาะปลูกในจังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดลาพูน จานวน 5 พื้นที่ มาแยกเชื้อสาเหตุด้วยวิธีการแยกเชื้อจากชิ้นพืช พบเชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides จานวน 5 ไอโซเลท มีลักษณะโคโลนีสีขาวจนถึงสีเทา สร้างกลุ่มสปอร์สีส้มอ่อนตรงกลางโคโลนีเป็นวงซ้อนกันหลายชั้น หลังเลี้ยงบนอาหาร potato dextrose agar (PDA) เป็นเวลา 7-9 วัน เส้นใยใสไม่มีสี มีผนังกั้น conidia เป็นรูปทรงกระบอก หัวและท้ายมน มีเซลล์เดียว เมื่อทดสอบความสามารถในการก่อให้เกิดโรค พบว่า ต้นกล้าหอมแดงที่ผ่านการปลูกเชื้อทั้ง 5 ไอโซเลท เกิดแผลที่ใบและแสดงอาการใบเลื้อยเป็นจานวนมาก เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม โดยไอโซเลท 2, 3 และ 4 แสดงอาการของโรครุนแรงที่สุด เมื่อทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าราจานวน 6 ชนิด คือ carbendazim, azoxystrobin, difenoconazole, azoxystrobin ผสม difenoconazole, maneb และ mancozeb ด้วยวิธีผสมลงในอาหารเลี้ยงเชื้อ PDA ที่ระดับความเข้มข้นต่าง ๆ ได้แก่ ความเข้มข้นตามอัตราแนะนา, 1 ใน 2 ของอัตราแนะนา, 1 ใน 4 ของอัตราแนะนา และ 1 ใน 8 ของอัตราแนะนา พบว่า สารฆ่ารา carbendazim ที่ทุกความเข้มข้น มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 100%, ในทุกระดับความเข้มข้น ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับสารฆ่าราที่มีประสิทธิภาพต่าสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา คือ mancozeb โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเท่ากับ 19.33, 18.56, 14.33 และ 12.67% ตามลาดับ และจากการทดสอบประสิทธิภาพของสารฆ่าราทั้ง 6 ชนิด ที่ระดับความเข้มข้นข้างต้น โดยแช่ก้อนเชื้อรา C. gloeosporioides ในสารฆ่ารา พบว่า สาร carbendazim ทุกความเข้มข้น มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อราเช่นกัน โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเฉลี่ยเท่ากับ 100.00, 100.00, 100.00 และ 90.00 % ตามลาดับ ซึ่งแตกต่างอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติเมื่อเปรียบเทียบกับสารฆ่าราที่มีประสิทธิภาพต่าสุดในการยับยั้งการเจริญของเชื้อรา คือ maneb โดยมีเปอร์เซ็นต์การยับยั้งเฉลี่ยที่ 2.78, 1.39, 1.39 และ 0.00% ตามลาดับ |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) |
URI: | http://journal.agri.cmu.ac.th/pdf/J00133_C00997.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64450 |
ISSN: | 0857-0842 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.