Please use this identifier to cite or link to this item:
http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64437
Title: | เงื่อนไขฐานรากในการเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกร |
Other Titles: | Grounded Conditions Towards Farming as an Occupation by Farmers and Their Descendants |
Authors: | ยศ บริสุทธิ์ ชนินทร์ แก้วคะตา |
Authors: | ยศ บริสุทธิ์ ชนินทร์ แก้วคะตา |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ |
Abstract: | อาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพของคนส่วนใหญ่ของประเทศไทย จากการศึกษาขั้นต้น พบว่า แนวโน้มของสัดส่วนผู้ทำอาชีพเกษตรลดลงแต่มีบางจังหวัดเท่านั้นที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จังหวัดศรีสะเกษเป็นหนึ่งในหกจังหวัดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่มีแนวโน้มผู้ทำอาชีพเกษตรเพิ่มขึ้น จึงมีคำถามว่า มีเงื่อนไขใดบ้างที่ทำให้เกษตรกรหรือบุตรหลานเกษตรกรเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรม การศึกษานี้ใช้การประเมินสภาวะชนบทและการศึกษาทฤษฏีฐานรากเป็นวิธีในการศึกษา โดยเลือกพื้นที่ศึกษา 4 อำเภอของจังหวัดศรีสะเกษที่มีเศรษฐกิจแตกต่างกัน ได้แก่ อำเภอที่มีเศรษฐกิจไม่ดี ค่อนข้างไม่ดี ค่อนข้างดี และเศรษฐกิจดีเป็นพื้นที่ศึกษา จากนั้นได้สำรวจพื้นที่เพื่อเลือกหมู่บ้านตัวแทนอำเภอละ 1 หมู่บ้าน และได้สร้าง กรอบประเด็นเพื่อเป็นเครื่องมือในรวบรวมข้อมูลจากผู้นำชุมชน สัมภาษณ์ครัวเรือนเกษตรกรทั้งเกษตรกรผู้ใหญ่และบุตรหลานเกษตรกร ในเดือนเมษายน 2555 ถึง มิถุนายน 2556 ผลการศึกษาค้นพบว่า ความสัมพันธ์ของเงื่อนไขฐานรากของการเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกร ได้แก่ เงื่อนไขฐานรากในการเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมของเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกร = (เงื่อนไขที่เป็นข้อเอื้อ + เงื่อนไขที่เป็นความจำยอมหรือเชิงบังคับ) - (เงื่อนไขที่เป็นข้อแม้หรือข้อจำกัด + เงื่อนไขที่เป็นข้อแม้หรือข้อจำกัดที่มีเฉพาะบุตรหลานเกษตรกร) โดย (1) เงื่อนไขสำคัญที่เป็นข้อเอื้อหรือมีแนวโน้มทำให้ตัดสินใจเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การมีที่ดินทำกินเพียงพอต่อการทำการเกษตร การมีแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรเอื้ออำนวย การสามารถสร้างรายได้จากการทำการเกษตร และการมีเงินทุนในการทำการเกษตร (2) เงื่อนไขสำคัญที่เป็นความจำยอมหรือเชิงบังคับทำให้ต้องเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ ความต้องการของครอบครัวให้สมาชิกกลับมาอยู่อาศัยด้วยกันหรือใกล้ชิดกันหรือความต้องการให้ครอบครัวมีความสุขและความอบอุ่นของครอบครัว อีกทั้งส่วนหนึ่งได้รับมรดกที่ดินทำกินจากบิดามารดา กอปรกับบิดามารดามีอายุมากขึ้นหรือวัยอาวุโสซึ่งไม่สามารถทำการเกษตรได้อย่างเต็มที่หรือหยุดทำอาชีพเกษตรกรรมโดยสิ้นเชิง (3) เงื่อนไขสำคัญที่เป็นข้อแม้หรือข้อจำกัดหรือมีแนวโน้มทำให้ไม่เข้าสู่อาชีพเกษตรกรรม ได้แก่ การมีแรงงานเหลือจากการทำการเกษตรของครัวเรือน การได้รับการศึกษาที่สูงกว่าภาคบังคับ และการได้รับมรดกที่ดินทางการเกษตรจากบิดามารดาหรือมีที่ดินทำกินต่อครัวเรือนจำนวนน้อยไร่หรือไม่สามารถหาซื้อเพิ่มได้ เป็นเงื่อนไขสำคัญที่เป็นข้อแม้หรือมีแนวโน้มทำให้ไม่เข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมของทั้งเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกรที่ยังไม่ทำการเกษตรเต็มตัว นอกจากนี้ยังพบเงื่อนไขเพิ่มเติมเฉพาะส่วนผู้ที่เป็นบุตรหลานเกษตรกรที่ยังไม่ทำการเกษตรเต็มตัวซึ่งค้นพบว่า การได้รับการยอมรับทางสังคม ความต้องการความสวยงามของร่างกาย และความลำบากตรากกรำในการประกอบอาชีพเป็นเงื่อนไขสำคัญที่เป็นข้อแม้หรือมีแนวโน้มทำให้ไม่เข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมอีกด้วย ดังนั้น ในการส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรมจึงควรพิจารณาถึงเงื่อนไขฐานรากของเกษตรกรและบุตรหลานเกษตรกรในการเข้าสู่อาชีพเกษตรกรรมดังกล่าวนี้เป็นฐาน |
Description: | วารสารเกษตร เป็นวารสารวิชาการของคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยวารสารจะออกราย 4 เดือน (มกราคม พฤษภาคม และกันยายน) ซึ่งจะพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิชาการสาขา เกษตรศาสตร์ อุตสาหกรรมเกษตร สัตวแพทย์ และชีววิทยา ทั้งจากภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย และปัจจุบันวารสารเกษตรอยู่ในฐานข้อมูลระดับชาติ ศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) |
URI: | http://journal.agri.cmu.ac.th/content.asp?JID=128&CID=956 http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/64437 |
ISSN: | 0857-0842 |
Appears in Collections: | CMUL: Journal Articles |
Files in This Item:
There are no files associated with this item.
Items in CMUIR are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.